UTP_ITA

การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ [ 2564 ]

INTEGRITY AND TRANSPARENCY ASSESSMENT : ITA
ITA คืออะไร ?
ITA คืออะไร ?
          หากจะว่าไปแล้ว การวัดหรือประเมินระดับการทุจริตคอร์รัปชันดูจะเป็นเรื่องยากที่สุดในกระบวนการศึกษาวิจัยเรื่อง การต่อต้านทุจริต ( Anti-Corruption Study ) คำถามที่ว่า ทำไมเราต้องวัดหรือประเมินระดับการคอร์รัปชันนั้น คำตอบที่ได้ คือ หากเราไม่วัด เราก็ไม่มีทางรู้ว่า สังคมเรามีปัญหาคอร์รัปชันมากน้อยแค่ไหน 20 ปีมาแล้ว ที่องค์กรความโปร่งใสสากล หรือ Transparency International ได้สร้างตัวชี้วัดระดับการทุจริตขึ้นมา หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Corruption Perception Index ( CPI ) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนภาพลักษณ์ระดับการคอร์รัปชันของประเทศต่างๆ ในโลก CPI ทำให้เรารู้ว่า ประเทศใดที่มีรัฐบาลโปร่งใส การบริหารงานเต็มไปด้วยธรรมาภิบาล ตรวจสอบได้ และมีผู้พร้อมแสดงความรับผิดชอบเมื่อกระทำผิด ( Accountability ) ในทำนองเดียวกัน CPI ทำให้เราทราบว่า ประเทศใดมีปัญหาด้านความโปร่งใส มีรัฐบาลขี้โกง มีระบบราชการที่ฉ้อฉล มีนักการเมืองขี้ฉ้อ เพราะสิ่งที่ว่ามานี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งสิ้น
          สำหรับประเทศไทยแล้ว รัฐเองพยายามสร้างตัวชี้วัดความโปร่งใสในหน่วยงานภาครัฐ ( Transparency Index หรือ TI ) โดยศูนย์วิจัยเพื่อต่อต้านการทุจริต ป๋วย อึ๊งภากรณ์ สำนักงาน ป.ป.ช. เมื่อปี พ.ศ. 2552 ศูนย์วิจัยป๋วยฯ เริ่มพัฒนาดัชนีวัดความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ พร้อมๆ กับการศึกษาแนวคิดการประเมินคุณธรรมการดำเนินงาน ( Integrity Assessment หรือ IA ) จนกระทั่งปี พ.ศ. 2554 ศูนย์วิจัยป๋วยฯ ดำเนินการวัดความโปร่งใสของหน่วยงานนำร่องภาครัฐ โดยเฉพาะส่วนราชการในส่วนกลางที่ " อาสา " มาให้วัดระดับความโปร่งใส ต่อมานักวิจัยนำดัชนีวัดความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐมาปรับรวมกับ Integrity Assessment ซึ่งใช้ประเมินคุณธรรมการดำเนินงานจนกลายเป็นดัชนีตัวใหม่ที่เรียกว่า Integrity & Transparency Assessment ( ITA ) ดัชนี ITA เรียกเต็มๆ ว่า " การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ " ซึ่งมีมหาวิทยาลัยหอการค้าเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำดัชนี ITA เป็นส่วนผสมระหว่าง TI และ IA และเรียกรวมๆ กันว่าเป็น Thailand Integrity & Transparency Assessment เหตุที่ต้องใช้ว่า Thailand นำหน้าด้วยก็เพื่อเป็นเครื่องมือป้องกันทุจริตคอร์รัปชันที่มีเอกลักษณ์เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทยๆ กรอบแนวคิดการประเมินของ ITA มีทั้งหมด 5 เรื่อง ได้แก่
          (1) ประเมินความโปร่งใส ( Transparency )
          (2) ประเมินความรับผิดชอบ ( Accountability )
          (3) ประเมินการทุจริตคอร์รัปชัน ( Corruption )
          (4) ประเมินวัฒนธรรมคุณธรรม ( Integrity Culture )
          (5) ประเมินคุณธรรมการทำงาน ( Work Integrity )
การสร้างกรอบแนวคิดการประเมินขึ้นก่อนนี้ ทำให้การประเมินมีทิศทางชัดเจน แม้เราจะมองว่า การวัดคุณธรรมเป็นเรื่องยากเพราะคุณธรรมเป็นนามธรรม ( Abstract ) มากกว่าจะจับต้องได้ อย่างไรก็ดี คุณธรรมที่ถูกประเมินนี้ วัดได้จาก วัฒนธรรมองค์กร การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันในองค์กร ขณะที่คุณธรรมการทำงานก็พิจารณาจาก การบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ และความเป็นธรรมในการมอบหมายงาน
          ITA เป็นดัชนีที่พยายามสร้างออกมาให้เป็นรูปธรรมเท่าที่ผู้ประเมินจะทำได้ เพราะหลังจากการดำเนินการแล้ว ผู้ประเมินจะคำนวณคะแนนคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐโดยรวมออกมา ค่าดัชนี ITA อยู่ระหว่าง 0-100 ถ้าหน่วยงานใดมีค่าระดับ ITA เข้าใกล้ 100 แสดงว่าหน่วยงานนั้น มีระดับคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานสูงมาก ขณะที่ค่า ITA เข้าใกล้ 0 ก็แสดงว่า หน่วยงานรัฐนั้นมีระดับความโปร่งใสของการดำเนินงานและคุณธรรมต่ำมาก
          ปัจจุบัน เกณฑ์การให้ค่าคะแนน ITA แบ่งเป็น 5 ระดับ คือ
          - สูงมาก (80-100)
          - สูง (60-79.99)
          - ปานกลาง (40-59.99)
          - ต่ำ (20-39.99)
          - ต่ำมาก (0-19.99)
การรวบรวมข้อมูลการประเมินมีที่มาทั้งจากบุคคลภายนอก บุคคลภายใน เก็บหลักฐานเชิงประจักษ์ ( Evidence Base ) และใช้ข้อมูลตัวชี้วัดที่หน่วยงานอื่นรวบรวมและดำเนินการเป็นดัชนี อาจกล่าวได้ว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สำนักงาน ป.ป.ช. พยายามพัฒนาและปรับปรุงตัวชี้วัดเพื่อประเมินความโปร่งใสและคุณธรรมของหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดัชนี ITA จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อ " ผู้เห็นคุณค่า " ของมันนำไปกำหนดนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน หรือ กำหนดพื้นที่ความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ เช่น สตง. ซึ่งหากทำได้จะเป็นการ " บูรณาการการต่อต้านคอร์รัปชัน " ที่ไม่ได้เป็นแค่เพียง " วาทกรรม " หรูๆ แต่ทำอะไรไม่ได้จริง การต่อต้านคอร์รัปชันมิใช่ การต่อต้านด้วยวาทกรรมแบบ " ไร้เดียงสา " ที่มองว่า ปัญหาคอร์รัปชันเป็นแค่เรื่องของคนชั่วเพียงอย่างเดียว พฤติการณ์คอร์รัปชันมีความลึกซึ้งละเอียดอ่อน เกี่ยวข้องกับการวางกลไกควบคุม ล้อมกรอบ และจำกัดปัญหาไม่ให้ลุกลามบานปลาย โดยอาศัยความรู้เป็นเครื่องนำทาง มิใช่เอาแต่อารมณ์เคียดขึ้งชิงชังป็นตัวนำ เพราะการใช้ " สติปัญญา " ในการแก้ปัญหา คือที่มาของการแก้ปัญหาของสังคมที่เจริญแล้ว

ตัวชี้วัดที่ 1 : การเปิดเผยข้อมูล

EB 1 : หน่วยงานมีการกำหนดมาตรการ และวางระบบการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน
องค์ประกอบด้านข้อมูลในการตรวจประเมินในระบบ MITAS
          ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ระดับจังหวัดและระดับ เขตสุขภาพ พิจารณาหลักฐานของหน่วยรับตรวจ ที่แสดงถึงการกำหนดมาตรการ และการวางระบบ ในการดำเนินการ ที่กำหนดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน รายละเอียดมีดังนี้
1. มีคำสั่งอย่างเป็นทางการ โดยผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน
          1.1 สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คำสั่งอย่างเป็นทางการนั้น ได้จากกลไกการกำกับ ติดตาม ปัญหาอุปสรรคจากการดำเนินงานเผยแพร่ข้อมูลอย่างต่อเนื่องของปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยใช้
                    1.1.1 คำสั่งเดิม (กรณีไม่เปลี่ยนแปลงผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน)
                    1.1.2 ทบทวนคำสั่งใหม่ (กรณีเปลี่ยนแปลงผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน)
2. มีกรอบแนวทางการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน จะต้องมีรายละเอียด
          2.1 มีลักษณะ / ประเภทข้อมูลที่หน่วยงานต้องเผยแพร่ต่อสาธารณะ
          2.2 มีการระบุวิธีการ ขั้นตอนการดำเนินงาน ระบุเวลาการดำเนินการ และผู้มีหน้าที่ รับผิดชอบในการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะอย่างชัดเจน
          2.3 มีการกำหนดกลไกการกำกับติดตามการดำเนินงานเผยแพร่ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ในลักษณะการรายงานผลการติดตามการดำเนินงาน และสรุปปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานเผยแพร่ข้อมูล ต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน
3. พิจารณาว่าผู้บังคับบัญชา ได้สั่งการให้นำคำสั่งและกรอบแนวทางไปเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ ของหน่วยงาน และมีแบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือไม่
EB 2 : หน่วยงานมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบัน
องค์ประกอบด้านข้อมูลในการตรวจประเมิน และหลักฐานที่ต้องมีในระบบ MITAS
          ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ระดับจังหวัดและระดับ เขตสุขภาพ พิจารณาหลักฐานของหน่วยรับตรวจ จาก Link ที่หน่วยรับตรวจได้แสดงหลักฐานจากเว็บไซต์ ของหน่วยงานในระบบ MITAS ที่ต้องแนบแบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์หน่วยงาน ข้อ 1 ถึงข้อ 11 รายละเอียดมีดังนี้
1. ข้อมูลพื้นฐานที่เป็นปัจจุบัน ประกอบด้วย
          1.1 ข้อมูลผู้บริหาร แสดงรายนามของผู้บริหารของหน่วยงาน ประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง รูปถ่าย หมายเลขโทรศัพท์
          1.2 นโยบายของผู้บริหาร
          1.3 โครงสร้างหน่วยงาน
          1.4 หน้าที่และอำนาจของหน่วยงานตามกฎหมายจัดตั้ง หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
          1.5 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน หรือการปฏิบัติงานของหน่วยงาน
          1.6 ข่าวประชาสัมพันธ์ ที่แสดงข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการดำเนินงานตามหน้าที่และอำนาจ และภารกิจของหน่วยงาน และเป็นข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
          1.7 ข้อมูลการติดต่อ ประกอบด้วย ที่อยู่หน่วยงาน หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขโทรสาร ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ แผนที่ตั้งหน่วยงาน
          1.8 ช่องทางการรับฟังความคิดเห็น ที่บุคคลภายนอกสามารถแสดงความคิดเห็น ต่อการดำเนินงานตามหน้าที่และอำนาจตามภารกิจของหน่วยงาน
          1.9 วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม MOPH
          1.10 ยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยรวม
          1.11 พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562
          1.12 ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552
          1.13 ข้อบังคับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยจรรยาข้าราชการสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560
          1.14 อินโฟกราฟฟิกคณะกรรมการจริยธรรม ประจำสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขชุดปัจจุบัน
          1.15 จรรยาบรรณกระทรวงสาธารณสุข (MOPH Code of Conduct)
2. นโยบายและยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน
3. แผนปฏิบัติการประจำปีของหน่วยงาน และการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีของหน่วยงาน (แผนปฏิบัติการประจำปีของหน่วยงาน ทุกแผน)
4. แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีของหน่วยงาน และการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีของหน่วยงาน
5. หลักเกณ ฑ์ / ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาในกรณี ที่ มีการร้องเรียนเรื่องการปฏิบัติงาน หรือการให้บริการของเจ้าหน้าที่
6. หลักเกณฑ์ / ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาในกรณีที่มีการร้องเรียนเรื่องการทุจริตและประพฤติมิชอบ
7. รายงานผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ
8. รายงานผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
9. ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง ประกอบด้วย
          9.1 การวิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุประจำปีที่ผ่านมา (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563)
          9.2 แผนการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุประจำปี
          9.3 ผลการดำเนินการตามแผนการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุประจำปีประจำปี ตามรอบระยะเวลาที่กำหนดในกรอบแนวทาง
          9.4 ประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยแนวทางปฏิบัติงานเพื่อตรวจสอบ บุคลากรในหน่วยงานด้านการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560 และแบบแสดงความบริสุทธิ์ใจในการจัดซื้อจัดจ้าง ของหน่วยงานในการเปิดเผยข้อมูลความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของหัวหน้าเจ้าหน้าที่
          9.5 แบบสรุปผลการจัดหาพัสดุในแต่ละรอบเดือน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (แบบ สขร. 1)
10. คู่มือการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักและภารกิจสนับสนุนของหน่วยงาน
11. คู่มือขั้นตอนการให้บริการ (ภารกิจให้บริการประชาชนตามพระราชบัญญัติการอํานวย ความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558) (ถ้ามี)

ตัวชี้วัดที่ 2 : การจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุ

EB 3 : หน่วยงานมีรายงานการวิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
องค์ประกอบด้านข้อมูลในการตรวจประเมินในระบบ MITAS
          ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ระดับจังหวัดและระดับ เขตสุขภาพ พิจารณาหลักฐานของหน่วยรับตรวจว่ามีหลักฐานรายงานการวิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง และมีการเสนอรายงานต่อผู้บังคับบัญชา รายละเอียดมีดังนี้
          1. ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์นั้น จะต้องประกอบด้วย งบประมาณภาพรวมของหน่วยงาน โดยจำแนกเป็นรายหมวด แสดงให้เห็นว่าในหมวดที่มีรายการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุ และแสดง เปรียบเทียบให้เห็นสัดส่วนของการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุ แต่ละประเภท และเปรียบเทียบกับ งบประมาณที่ตั้งไว้ และใช้จ่ายจริงในแต่ละรายการ เป็นการวิเคราะห์ความสุ่มเสี่ยงในการทุจริต และเป็นข้อมูล ในการวางแผนการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุ ในปีงบประมาณถัดไป จะต้อง ประกอบด้วย
                    1.1 ร้อยละของจำนวนรายการที่ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างแล้วเสร็จในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำแนกตามวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง
                    1.2 ร้อยละของจำนวนงบประมาณที่ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างแล้วเสร็จในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำแนกตามวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง
          2. มีผลวิเคราะห์การจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุประจำปีที่ผ่านมา โดยได้นำข้อมูล ที่ได้ทั้งหมดตามข้อ 1. มาจัดทำเป็นรายงานการวิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2563 ครบทั้งองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ คือ
                    2.1 การวิเคราะห์ความเสี่ยง
                    2.2 การวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรค / ข้อจำกัด
                    2.3 การวิเคราะห์ความสามารถในการประหยัดงบประมาณ
                    2.4 แนวทางแก้ไขและปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุ ที่จะนำไปสู่ การปรับปรุงการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
          3. มีการเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยแสดงหลักฐานที่นำไปปรับปรุงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม
          4. พิจารณาว่าผู้บังคับบัญชา ได้สั่งการหรืออนุญาตให้นำรายงานการวิเคราะห์ผลการจัดซื้อ จัดจ้างและการจัดหาพัสดุ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน และมีแบบฟอร์ม การเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือไม่
          
EB 4 : หน่วยงานมีมาตรการ และวางระบบเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง และการจัดหาพัสดุ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
องค์ประกอบด้านข้อมูลในการตรวจประเมินในระบบ MITAS
          ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ระดับจังหวัดและระดับ เขตสุขภาพ พิจารณาหลักฐานของหน่วยรับตรวจ ได้แก่ มาตรการ และการวางระบบการดำเนินการ เพื่อส่งเสริม ความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รายละเอียดมีดังนี้
          1. หลักฐานการเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุประจำปี ตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ที่บัญญัติว่า “ ให้หน่วยงานของรัฐ จัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี และประกาศเผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง และของหน่วยงานของรัฐ ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้น ... ” ประกอบด้วย (1) ชื่อโครงการ / รายการที่จะซื้อจ้าง (2) วงเงิน ที่จะจัดซื้อจัดจ้างโดยประมาณ และ (3) ระยะเวลาที่คาดว่าจะจัดซื้อจัดจ้าง หน่วยงานจะต้องจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี ในหมวดงบประมาณที่กำหนดดังนี้
                    1.1 งบดำเนินงาน
                              - งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                              - เงินนอกงบประมาณ (เงินบำรุง) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                    1.2 งบลงทุน
                              - งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                              - งบเงินอุดหนุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                              - งบรายงายจ่ายอื่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                              - เงินนอกงบประมาณ (เงินบำรุง) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง จะต้องแสดงรายละเอียดครบทั้ง 3 รายการ ตามข้อ 1. ประกอบด้วย (1) ชื่อโครงการ / รายการที่จะซื้อจ้าง (2) วงเงินที่จะจัดซื้อจัดจ้างโดยประมาณ และ (3) ระยะเวลาที่คาดว่า จะจัดซื้อจัดจ้าง หน่วยงานต้องประกาศเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี ภายใน 30 วันทำการ หลังจากที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ โดยระบุวันที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการอธิบายข้อคำถาม และวันที่ที่ได้ทำการประกาศเผยแพร่ให้ชัดเจน และต้องมีหนังสือแจ้งการจัดสรรงบประมาณประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2564 ประกอบการพิจารณา
          2. มีการเผยแพร่ผลของแผนการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุประจำปี ของหน่วยงาน อย่างเป็นระบบ ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ที่บัญญัติว่า “หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีการบันทึกรายงานผลการพิจารณารายละเอียดวิธีการ และขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง และจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อประโยชน์ในการตรวจดูข้อมูล เมื่อมีการร้องขอ ประกอบด้วย (1) ชื่อโครงการ / รายการที่ได้ซื้อจ้างแล้ว (2) วงเงินที่ได้จัดซื้อจัดจ้าง (3) ระยะเวลาที่ได้จัดซื้อจัดจ้าง และ (4) วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง ดำเนินการรายงานผลตามแผนจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุ ประจำปีของหน่วยงาน ตามรอบระยะเวลาที่กำหนดดังนี้
          - งบลงทุน ทุกไตรมาส
          - งบดำเนินงาน ทุก 6 เดือน
ระบบข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุ ต้องสามารถสอบทานกลับได้ เพื่อตรวจสอบความมีอยู่จริงของระบบและข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบการประเมิน
          3. มีการป้องกันผู้ที่มีหน้าที่ดำเนินการในการจัดซื้อจัดจ้างเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญา ตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ที่บัญญัติว่า ในการจัดซื้อจัดจ้าง ผู้ที่มีหน้าที่ดำเนินการต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาในงานนั้น
                    3.1 ใช้หนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ด่วนที่สุด ที่ สธ 0217/ว 3001 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2560 เรื่อง ขอส่งประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยแนวทางปฏิบัติงานเพื่อตรวจสอบบุคลากรในหน่วยงานด้านการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2560 และแบบแสดงความบริสุทธิ์ใจ ในการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานในการเปิดเผยข้อมูลความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของหัวหน้าเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ และผู้ตรวจรับพัสดุ จำนวน 2 แบบ คือ วงเงินเล็กน้อยไม่เกิน 100,000 บาท และวงเงินเกิน 100,000 บาท
                    3.2 มีวิธีการหรือกระบวนการตรวจสอบถึงความเกี่ยวข้องระหว่างเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับ การจัดซื้อจัดจ้าง และผู้เสนองาน เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนจะต้องมีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม มีการสั่งการจากผู้บริหาร และนำไปปฏิบัติจริง
                    3.3 มีกระบวนการ ควบคุม กำกับ และสอบทาน โดยมีการสั่งการจากผู้บริหารและปฏิบัติจริง ในหน่วยงาน และแสดงหลักฐานชุดใบสำคัญการเบิกจ่ายของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่มีการประกาศสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยแนวทางปฏิบัติงานเพื่อตรวจสอบบุคลากรในหน่วยงานด้านการจัดซื้อ จัดจ้าง พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2560 และแบบแสดงความบริสุทธิ์ใจในการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงาน ในการเปิดเผยข้อมูลความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของหัวหน้าเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ และผู้ตรวจรับพัสดุ
                              - ชุดใบสำคัญ 2 ชุด แสดงในทุกไตรมาส ๆ
          4. พิจารณาว่าผู้บังคับบัญชา ได้สั่งการโดยอนุญาตให้นำข้อ 1. ข้อ 2. และข้อ 3. ไปเผยแพร่ ผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน และมีแบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือไม่
          
EB 5 : หน่วยงานมีการสรุปผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในรอบเดือน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
องค์ประกอบด้านข้อมูลในการตรวจประเมินในระบบ MITAS
          ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ระดับจังหวัดและระดับ เขตสุขภาพ พิจารณาหลักฐานของหน่วยรับตรวจที่แสดงถึงการเผยแพร่ข้อมูลการสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้าง และการจัดหาพัสดุรายเดือน ตามแบบสรุปผลการจัดหาพัสดุในแต่ละรอบเดือน (แบบ สขร. 1) ซึ่งแบบสรุปผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในรอบเดือน (แบบ สขร. 1) หมายถึง แบบสรุปผล การจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุรายเตามประกาศคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ เรื่อง กำหนด ข้อมูลข่าวสารตามเกณฑ์มาตรฐานความโปร่งใสและตัวชี้วัดความโปร่งใสของหน่วยงานของรัฐเป็นข้อมู ล ข่าวสารที่ต้องจัดไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (8) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ข้อ 1 (5) บัญญัติว่า หน่วยงานภาครัฐต้องสรุปผลการจัดหาพัสดุในแต่ละรอบเดือนตามมาตรา 9(8) ที่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2560 ที่มีมติให้หน่วยงานภาครัฐถือปฏิบัติและดำเนินการอย่างเคร่งครัด เนื้อหาประกอบด้วย (1) งานที่จัดซื้อหรือจัดจ้าง (2) วงเงินที่จัดซื้อหรือจัดจ้าง (3) ราคากลาง (4) วิธีซื้อหรือจ้าง (5) รายชื่อผู้เสนอราคาและราคาที่เสนอ (6) ผู้ได้รับการคัดเลือกและราคาที่ตกลงซื้อหรือจ้าง (7) เหตุผลที่คัดเลือกโดยสรุป และ (8) เลขที่และวันที่ของสัญญา หรือข้อตกลงในการซื้อหรือจ้าง
          ราคากลาง หมายถึง ราคากลางและการคำนวณราคากลางเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างราคากลาง เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ เป็นไปตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 63 บัญญัติให้ภายใต้ข้อบังคับมาตรา 62 ให้หน่วยงานของรัฐประกาศราคากลาง รายละเอียดข้อมูลราคากลางและการคำนวณราคากลางในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง ตามวิธีการ ที่กรมบัญชีกลางกำหนด ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0405.3/ว 453 ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2561 และหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0505.3/ว 132 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2561 รายละเอียดมีดังนี้
          1. หลักฐานแสดงถึงการเผยแพร่ข้อมูลการสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุรายเดือน ตามแบบสรุปผลการจัดหาพัสดุในแต่ละรอบเดือน (แบบ สขร. 1) ในทุกๆ ไตรมาส ดังนี้
                    ไตรมาสที่ 1 แสดงแบบ สขร. 1 เดือนตุลาคม 2563 - ธันวาคม 2563
                    ไตรมาสที่ 2 แสดงแบบ สขร. 1 เดือนมกราคม 2564 - มีนาคม 2564
                    ไตรมาสที่ 3 แสดงแบบ สขร. 1 เดือนเมษายน 2564 - มิถุนายน 2564
                    ไตรมาสที่ 4 แสดงแบบ สขร. 1 เดือนกรกฎาคม 2564 - กันยายน 2564
ในไตรมาสที่ 4 ตัดในวันที่หน่วยรับตรวจส่งประเมินและหน่วยงานนำแบบ สขร. 1 เดือนกันยายน 2564 ที่เสร็จสมบูรณ์ เผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงานอีกครั้ง
          2. พิจารณาว่าผู้บังคับบัญชา ได้สั่งการให้นำแบบสรุปผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในรอบเดือน (แบบ สขร. 1) ไปเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์และมีแบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือไม่

ตัวชี้วัดที่ 3 : การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

EB 6 : ผู้บริหารแสดงนโยบายการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
องค์ประกอบด้านข้อมูลในการตรวจประเมินในระบบ MITAS
          ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ระดับจังหวัดและระดับ เขตสุขภาพ พิจารณาหลักฐานของหน่วยรับตรวจที่แสดงถึงการเผยแพร่นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล ของผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน ที่ก่อให้เกิดการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีความโปร่งใสและมีคุณธรรม ลดการใช้ดุลพินิจที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายกำหนด ผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศของหน่วยงาน หรืออาจสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น รายละเอียดมีดังนี้
          1. มีเนื้อหาที่แสดงถึงความมุ่งมั่นในการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ก่อให้เกิดการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีความโปร่งใสและมีคุณธรรม
          2. พิจารณาว่าผู้บังคับบัญชาได้สั่งการให้นำนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลของผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานไปเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ และมีแบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่นหรือไม่
EB 7 : หน่วยงานมีการกำหนดมาตรการ และระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานและการดำเนินการ กับเจ้าหน้าที่ผู้มีผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานต่ำ
องค์ประกอบด้านข้อมูลในการตรวจประเมินในระบบ MITAS
          ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ระดับจังหวัดและระดับ เขตสุขภาพ พิจารณาหลักฐานของหน่วยรับตรวจที่แสดงถึงการกำหนดมาตรการ และระบบการบริหารผล การปฏิบัติงานและการดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ผู้มีผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานต่ำ รายละเอียดมีดังนี้
          1. มีลักษณะเป็นคำสั่งหรือประกาศอย่างเป็นทางการโดยผู้บริหารสูงสุดระดับจังหวัด เป็นคำสั่งหรือประกาศอย่างเป็นทางการ โรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทั่วไป / โรงพยาบาลชุมชน และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ใช้คำสั่งหรือประกาศอย่างเป็นทางการของจังหวัด
          2. กำหนดกรอบแนวทางการบริหารผลการปฏิบัติงานและดำเนินการกับผู้มีผลการปฏิบัติงานที่ไม่ถึงเกณฑ์ โดยกำหนดให้มีระบบการรายงานหรือการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้มีเกณฑ์การประเมินต่ำ (ต่ำกว่าค่าเป้าหมายหรือระดับที่คาดหวัง) ต้องมีการประกาศให้ผู้ที่มีคะแนนการประเมินต่ำทราบล่วงหน้า ซึ่งกรอบแนวทางการบริหารผลงานการปฏิบัติงานและการดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ผู้มีผลสัมฤทธิ์ การปฏิบัติงานต่ำ มีรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้
                    2.1 หลักเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงาน
                    2.2 หลักเกณฑ์การพิจารณาให้คุณหรือให้โทษต่อผู้ปฏิบัติงานตามผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงาน ในระดับต่าง ๆ รวมถึงวิธีการพัฒนา ผู้ที่มีผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์
                    2.3 วิธีการ ขั้นตอน และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบริหารผลการปฏิบัติงาน รายงานผลการดำเนินการ กับเจ้าหน้าที่ผู้มีผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานต่ำต่อผู้บังคับบัญชา
                    2.4 มีการกำหนดกลไกการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง
          3. หากเจ้าหน้าที่ผู้มีผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานต่ำกว่าค่าเป้าหมายหรือระดับที่คาดหวังรายใด ไม่เข้ารับการพัฒนาตามหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้มีผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานต่ำกว่าค่าเป้าหมายหรือระดับที่คาดหวัง หรือเข้ารับการพัฒนาแล้วแต่ยังคงมีผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานต่ำกว่าค่าเป้าหมาย หรือระดับที่คาดหวัง ให้ดำเนินการตามกฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ ว่าด้วยการสั่งให้ออกจากราชการ กรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล หรือการสั่งเลิกจ้าง เนื่องจากมีคะแนนการประเมินผลการปฏิบัติราชการต่ำกว่าระดับที่กำหนด แล้วแต่ประเภทของเจ้าหน้าที่ อย่างเคร่งครัด ดังนี้
                    3.1 ข้าราชการ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 110 (5) และกฎ ก.พ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการกรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการ ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล พ.ศ. 2552 ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1012/ว 10 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2552
                    3.2 ลูกจ้างประจำ ให้ดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 ข้อ 60 (5) ซึ่งกำหนดให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ สั่งให้ลูกจ้างประจำที่ไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ ออกจากราชการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนโดยอนุโลม
                    3.3 พนักงานราชการ ให้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 ข้อ 19 และข้อ 20 และประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เรื่อง แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ พ.ศ. 2554 และหลักเกณฑ์และวิธีการ ประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2554 ตามหนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ 0201.034/ว 275 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2554
                    3.4 ลูกจ้างชั่วคราว ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน ของลูกจ้างชั่วคราวเงินนอกงบประมาณ (เงินบำรุง) สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2558 ตามหนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ด่วนที่สุด ที่ สธ 0201.034/ว 224 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2558
                    3.5 พนักงานกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำเนินการตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยพนักงานกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2556 ข้อ 23 และข้อ 24 และประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ลงวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ว่าด้วยการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มค่าจ้างและต่อสัญญาจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2557 หน่วยงานอาจมีการทบทวนคำสั่ง หรือประกาศอย่างเป็นทางการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 หรือใช้คำสั่ง หรือประกาศอย่างเป็นทางการของปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
          4. ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจให้ทราบทั่วทั้งองค์กร / หนังสือแจ้งเวียน หลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้มีผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานต่ำกว่าค่าเป้าหมาย หรือระดับที่คาดหวัง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ราชการบริหารส่วนกลาง ไม่ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ ดังต่อไปนี้
                    1. ข้าราชการที่อยู่ระหว่างการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและการพัฒนาข้าราชการที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ พ.ศ. 2553
                    2. ข้าราชการที่มีระยะเวลาการปฏิบัติราชการในรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ที่จะทำการประเมินไม่ครบ 6 เดือน
EB 8 : หน่วยงานมีการรายงานการประเมินและเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีของบุคลากรในหน่วยงาน และเปิดเผยผลการปฏิบัติราชการ ระดับดีเด่น และระดับดีมาก ในที่เปิดเผยให้ทราบ รอบปีงบประมาณที่ผ่านมา และรอบปีงบประมาณ
องค์ประกอบด้านข้อมูลในการตรวจประเมินในระบบ MITAS
          ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ระดับจังหวัดและระดับ เขตสุขภาพ พิจารณาหลักฐานของหน่วยรับตรวจ ที่แสดงถึงการประกาศผลการปฏิบัติราชการในระดับดีเด่นและดีมากในที่เปิดเผยให้ทราบโดยทั่วกัน ที่เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 76 บัญญัติให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชา เพื่อใช้ ประกอบการพิจารณาแต่งตั้งและเลื่อนเงินเดือน เพื่อให้ผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการเป็นไปด้วย ความโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้ ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1012/ว 20 ลงวันที่ 3 กันยายน 2552 ข้อ 9 (6) ที่ระบุ “ให้ผู้บังคับบัญชาตามข้อ 2 (ระบุ (1) ถึง (11) ประกาศรายชื่อข้าราชการพลเรือน สามัญผู้มีผลการปฏิบัติราชการในระดับดีเด่นและดีมากในที่เปิดเผยให้ทราบโดยทั่วกัน เพื่อเป็นการยกย่อง ชมเชย และสร้างแรงจูงใจให้พัฒนาผลการปฏิบัติราชการในรอบการประเมินต่อไปให้ดียิ่งขึ้น สำหรับ ส่วนราชการที่มีการกำหนดระดับผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการเกินกว่า 5 ระดับ ให้ผู้ประเมิน ประกาศรายชื่อผู้มีผลการปฏิบัติราชการอยู่ในระดับสูงกว่าระดับดีขึ้นไป ” นอกจากนี้ ต้องดำเนินการ ตามกฎหมายประเด็นการจ้างงาน ตามข้อ EB 7 ข้อ 3.1 ถึงข้อ 3.5 ประกอบด้วย ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราว และพนักงานกระทรวงสาธารณสุข รายละเอียดมีดังนี้
          1. มีลักษณะเป็นประกาศอย่างเป็นทางการ โดยผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน
          2. ผู้บังคับบัญชาต้องสั่งการให้นำประกาศรายงานการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีของบุคลากรในหน่วยงาน ระดับดีเด่นและดีมาก ไปเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงาน มีแบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน
          3. แสดงหลักฐานประกาศรายงานการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีของบุคลากรในหน่วยงาน ระดับดีเด่น และดีมาก รอบปีงบประมาณที่ผ่านมา และรอบปีงบประมาณ โดยไม่คำนึงถึงคำสั่งการเลื่อนเงินเดือน
                    ไตรมาสที่ 1 หลักฐานประกาศรายงานการประเมินผลฯ
                         รอบ 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (เมษายน 2563 - กันยายน 2563)
                    ไตรมาสที่ 3 หลักฐานประกาศรายงานการประเมินผลฯ
                         รอบ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ตุลาคม 2563 - มีนาคม 2564)
EB 9 : หน่วยงานมีการอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานเกี่ยวกับการเสริมสร้างและพัฒนาทางด้านจริยธรรมและการรักษาวินัยรวมทั้งการป้องกันมิให้กระทำผิดวินัย
องค์ประกอบด้านข้อมูลในการตรวจประเมินในระบบ MITAS
          ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ระดับจังหวัดและระดับเขตสุขภาพ พิจารณาหลักฐานของหน่วยรับตรวจที่แสดงถึงการให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานเกี่ยวกับการเสริมสร้างและพัฒนาทางด้านจริยธรรมและการมีวินัยรวมทั้งการป้องกันมิให้กระทำผิดวินัย รายละเอียดมีดังนี้
          1. หลักฐานการจัดโครงการอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานเกี่ยวกับการเสริมสร้าง และพัฒนาทางด้านจริยธรรมและการมีวินัยรวมทั้งการป้องกันมิให้กระทำผิดวินัย
          2. รายชื่อผู้เข้าร่วมอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานเกี่ยวกับการเสริมสร้างและพัฒนาทางด้านจริยธรรมและการมีวินัยรวมทั้งการป้องกันมิให้กระทำผิดวินัย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอจะต้องนำเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ความรับผิดชอบเข้าร่วมการอบรมด้วย
          3. รายงานผลการอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานเกี่ยวกับการเสริมสร้างและพัฒนาทางด้านจริยธรรมและการมีวินัยรวมทั้งการป้องกันมิให้กระทำผิดวินัย
          4. ภาพกิจกรรม ต้องระบุวัน เวลา สถานที่จัดกิจกรรมการอบรมที่ชัดเจน
          5. หลักฐานผู้บังคับบัญชารับทราบผลการอบรมและสั่งการให้นำรายละเอียดตามข้อ 1. ถึงข้อ 4. เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์และมีแบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น

ตัวชี้วัดที่ 4 : การส่งเสริมความโปร่งใส

EB 10 : หน่วยงานมีแนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียน และช่องทางการร้องเรียน
องค์ประกอบด้านข้อมูลในการตรวจประเมินในระบบ MITAS
          ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ระดับจังหวัดและระดับ เขตสุขภาพ พิจารณาหลักฐานของหน่วยรับตรวจที่แสดงถึงแนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนของหน่วยงาน ในลักษณะคู่มือการดำเนินงานเรื่องร้องเรียนการปฏิบัติงานหรือการให้บริการของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงาน และคู่มือการดำเนินงานเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ รายละเอียดตามคู่มือปฏิบัติการฯ มีดังนี้
          1. แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนของหน่วยงาน ในลักษณะ (1) คู่มือการดำเนินงาน เรื่องร้องเรียนการปฏิบัติงานหรือการให้บริการของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงาน และ (2) คู่มือการดำเนินงาน เรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
                    1.1 ขั้นตอนของการปฏิบัติงาน
                    1.2 ส่วนงานที่รับผิดชอบ
                    1.3 ระยะเวลาการดำเนินการ
                    1.4 การตอบสนองต่อเรื่องร้องเรียน
                    1.5 วิธีการที่บุคคลภายนอกจะทำการร้องเรียน
                    1.6 ช่องทางการร้องเรียน
          2. หน่วยงานส่งหลักฐานที่แสดงถึงช่องทางการร้องเรียน อาทิ ผ่านระบบหมายเลขโทรศัพท์ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ผ่านระบบไปรษณีย์ ผ่าน Application หรือช่องทางอื่นๆ ที่หน่วยงานกำหนดตามความเหมาะสม
EB 11 : หน่วยงานมีข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียน
องค์ประกอบด้านข้อมูลในการตรวจประเมินในระบบ MITAS
          ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ระดับจังหวัดและระดับ เขตสุขภาพ พิจารณาหลักฐานของหน่วยรับตรวจที่แสดงถึงการสรุปผลการดำเนินงานเรื่องร้องเรียนภายใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีรายละเอียดดังนี้
          1. เรื่องร้องเรียนการปฏิบัติงานหรือการให้บริการของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงาน
          2. เรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ การสรุปผลการดำเนินงานเรื่องร้องเรียนทั้ง 2 ประเด็น ต้องมี
                    2.1 การวิเคราะห์ปัญหา / อุปสรรค
                    2.2 แนวทางแก้ไข
                    2.3 รายงานต่อผู้บังคับบัญชา จำนวน 2 รอบการประเมิน คือ
                         - รอบ 6 เดือน
                         - รอบ 12 เดือน
          3. กรณีในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 หน่วยงานไม่มีเรื่องร้องเรียนการปฏิบัติงานหรือการให้บริการของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงาน หรือเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบ หรือกรณีใดกรณีหนึ่ง หน่วยงานต้องจัดทำรายงานสรุปผลว่า หน่วยงานไม่มีเรื่องร้องเรียนในปีงบประมาณ หรือมีเพียงกรณีใดกรณีหนึ่ง
EB 12 : หน่วยงานของท่านเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ตามภารกิจของหน่วยงาน
องค์ประกอบด้านข้อมูลในการตรวจประเมินในระบบ MITAS
          ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ระดับจังหวัดและระดับ เขตสุขภาพ พิจารณาหลักฐานของหน่วยรับตรวจที่แสดงถึงโครงการ / กิจกรรม ที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน
          1. หลักฐานโครงการ / กิจกรรมที่ดำเนินการในไตรมาสที่ 1 และเสร็จสิ้นในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
          2. หลักฐานโครงการ / กิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการมีส่วนร่วม ตั้งแต่ (1) กระบวนการ มีส่วนร่วมในการวางแผน (2) กระบวนการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (3) กระบวนการมีส่วนร่วม ในการดำเนินการ และ (4) กระบวนการมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล
          3. หลักฐานแสดงการมีส่วนร่วมตามกระบวนการในข้อ 2. โดยจะต้องระบุรายละเอียดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เข้ามาร่วมในการดำเนินการในแต่ละขั้นตอนด้วย มีรายละเอียดดังนี้
                    3.1 รายงานการประชุม / สัมมนา ตามโครงการ / กิจกรรม มีการเสนอรายงานดังกล่าวต่อผู้บริหาร
                    3.2 รายงานการประชุม / สัมมนา มีการแสดงชื่อของผู้จดบันทึกการประชุม รวมทั้งจะต้องแสดงรายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุมชัดเจน
                    3.3 รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ / กิจกรรม
          4. ภาพกิจกรรม ต้องระบุวัน เวลา สถานที่จัดกิจกรรมการอบรมที่ชัดเจน
          5. ผู้พิจารณาว่าบังคับบัญชา ได้สั่งการหรืออนุญาตให้นำรายละเอียดการดำเนินงานไปเผยแพร่ ผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานและมีแบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่นหรือไม่

ตัวชี้วัดที่ 5 : การรับสินบน

EB 13 : หน่วยงานมีการกำหนดมาตรการและระบบในการป้องกันการรับสินบน
องค์ประกอบด้านข้อมูลในการตรวจประเมินในระบบ MITAS
          ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ระดับจังหวัดและระดับ เขตสุขภาพ พิจารณาหลักฐานของหน่วยรับตรวจที่แสดงถึงการกำหนดมาตรการและระบบในการป้องกันการรับสินบน รายละเอียดมีดังนี้
          1. มีลักษณะเป็นคำสั่ง ประกาศ หรือข้อสั่งการอย่างเป็นทางการ โดยผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน หรือผู้บริหารที่ได้รับมอบอำนาจ
          2. มีกรอบแนวทางการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในการป้องกันการรับสินบนทุกรูปแบบ ประเด็น ข้อ 2.1 ถึงข้อ 2.7 ดังนี้
                    2.1 มาตรการป้องกันการรับสินบนการให้และรับของขวัญแก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หรือผู้บังคับบัญชาในเทศกาลปีใหม่
                    2.2 มาตรการป้องกันการรับสินบนในกระบวนการเบิกจ่ายยาตามสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2560 ที่กำหนดว่า
                         - ห้ามหน่วยบริการหรือหน่วยงานทำการจัดซื้อ ทำการหารายได้ในลักษณะผลประโยชน์ต่างตอบแทนทุกประเภท จากบริษัทยาหรือบริษัทเวชภัณฑ์มิใช่ยา เข้ากองทุนสวัสดิการของหน่วยบริการนั้น หน่วยงานประกาศใช้และดำเนินการตาม
                         - ประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อจัดหาและการส่งเสริมการขายยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2557
                         - ประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อจัดหาและการส่งเสริมการขายยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. .... (อยู่ระหว่างลงนาม)
                    2.3 มาตรการป้องกันการรับสินบนในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
                    2.4 มาตรการป้องกันการรับสินบนประเด็นการเงินบริจาค และทรัพย์สินบริจาค
                    2.5 มาตรการป้องกันการทุจริต และแก้ไขการกระทำผิดวินัยของเจ้าหน้าที่รัฐในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ มาตรการการใช้รถราชการ มาตรการการเบิกค่าตอบแทน มาตรการการจัดทำโครงการฝึกอบรม ศึกษาดูงาน ประชุม และสัมมนาตามที่กฎหมายกำหนด และมาตรการการจัดหาพัสดุตามที่กฎหมายกำหนด
                    2.6 มาตรการแนวทางปฏิบัติในการรับส่วนแถมพิเศษ ส่วนชดเชย ส่วนสนับสนุน หรือส่วนอื่นใดเพิ่มเติมจากที่หน่วยงานของรัฐกำหนดไว้ในขอบเขตของงาน หรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
                    2.7 มาตรการการจัดสวัสดิการภายในของสถานพยาบาล เฉพาะหน่วยงานที่มีกองทุนสวัสดิการภายในหน่วยงานส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่จังหวัดไม่มีคณะกรรมการสวัสดิการ และกองทุนสวัสดิการภายในหน่วยงานส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
          3. มีการกำหนดกลไกการกำกับติดตาม และรายงานสรุปผลต่อผู้บริหารเป็นระบบและต่อเนื่อง
          4. พิจารณาว่าผู้บังคับบัญชา ได้สั่งการและอนุมัติให้
                    4.1 นำมาตรการตามกรอบแนวทางการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในการป้องกันการรับสินบนทุกรูปแบบ ประเด็นข้อ 2.1 ถึงข้อ 2.7 ที่มีกลไกการกำกับติดตาม ตามที่หน่วยงานกำหนด ไปเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน และมีแบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือไม่
                    4.2 นำรายงานสรุปผลต่อผู้บริหารเป็นระบบและต่อเนื่อง ไปเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์และมีแบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือไม่

ตัวชี้วัดที่ 6 : การใช้ทรัพย์สินของราชการ

EB 14 : หน่วยงานมีการจัดทำแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินของราชการที่ถูกต้อง
องค์ประกอบด้านข้อมูลในการตรวจประเมินในระบบ MITAS
          ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ระดับจังหวัดและระดับเขตสุขภาพ พิจารณาหลักฐานของหน่วยรับตรวจที่แสดงถึงแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินของราชการที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ แห่งระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
          1. มีลักษณะเป็นข้อสั่งการอย่างเป็นทางการ โดยผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน
          2. มีแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการยืมพัสดุประเภทใช้คงรูประหว่างหน่วยงานของรัฐ ยืมใช้ภายในสถานที่ของหน่วยงานของรัฐเดียวกัน และการยืมไปใช้นอกสถานที่ของหน่วยงานของรัฐ ที่มีผังกระบวนการยืมพัสดุประเภทคงรูปของเจ้าหน้าที่รัฐของหน่วยงาน ที่มีกลไกการกำกับติดตาม
          3. มีแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการยืมพัสดุประเภทใช้สิ้นเปลืองระหว่างหน่วยงานของรัฐ ที่มีกลไกการกำกับติดตาม
          4. พิจารณาว่าผู้บังคับบัญชา ได้สั่งการให้นำแนวปฏิบัติ ฯ ตามข้อ 2. และข้อ 3 แจ้งเวียนให้ทุกหน่วยงานย่อย ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
          5. พิจารณาว่าหน่วยรับตรวจ ได้นำแนวทางปฏิบัติฯ ตามข้อ 2. และ ข้อ 3. ไปเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน และมีแบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือไม่
EB 15 : หน่วยงานมีขั้นตอนการขออนุญาตเพื่อยืมทรัพย์สินของราชการไปใช้ปฏิบัติในหน่วยงาน
องค์ประกอบด้านข้อมูลในการตรวจประเมินในระบบ MITAS
          ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ระดับจังหวัดและระดับเขตสุขภาพ พิจารณาหลักฐานของหน่วยรับตรวจที่แสดงถึงขั้นตอนการขออนุญาตเพื่อยืมทรัพย์สินของราชการไปใช้ปฏิบัติ ในหน่วยงาน แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการยืมพัสดุ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ แห่งระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วย การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ประกอบด้วย (1) การยืมพัสดุประเภทใช้คงรูป ระหว่าง หน่วยงานของรัฐ การให้บุคคลยืมใช้ภายในสถานที่ของหน่วยงานของรัฐเดียวกัน และการยืมไปใช้นอกสถานที่ ของหน่วยงานของรัฐ และ (2) การยืมพัสดุประเภทใช้สิ้นเปลือง ระหว่างหน่วยงานของรัฐ
          1. มีลักษณะเป็นข้อสั่งการอย่างเป็นทางการ โดยผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน
          2. มีแบบฟอร์มการยืมพัสดุทั้ง 2 ประเภท
          3. พิจารณาว่าผู้บังคับบัญชา ได้สั่งการให้นำแบบฟอร์มใบยืมพัสดุทั้ง 2 ประเภท แจ้งเวียนให้ทุกหน่วยงานย่อยถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
          4. พิจารณาว่าหน่วยรับตรวจ ได้นำแบบฟอร์มการยืมพัสดุทั้ง 2 ประเภท ไปเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน และมีแบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือไม่

ตัวชี้วัดที่ 7 : การดำเนินงานเพื่อป้องกันการทุจริต

EB 16 : หน่วยงานมีการเผยแพร่เจตจำนงสุจริตของผู้บริหารต่อสาธารณชน
องค์ประกอบด้านข้อมูลในการตรวจประเมินในระบบ MITAS
          ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ระดับจังหวัดและระดับ เขตสุขภาพ พิจารณาหลักฐานของหน่วยรับตรวจที่แสดงถึงการเผยแพร่เจตจำนงสุจริตของผู้บริหารสูงสุด ของหน่วยงานต่อสาธารณชน ผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศของหน่วยงาน หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น รายละเอียดมีดังนี้
          1. มีเนื้อหาที่แสดงถึงความมุ่งมั่นในการบริหารงานให้สำเร็จตามพันธกิจของหน่วยงาน อย่างมีธรรมาภิบาล
          2. เจตจำนงสุจริตของผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานต่อสาธารณชนโดยที่หน่วยรับตรวจ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จในไตรมาสที่ 2 (ระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 ถึงเดือนมีนาคม 2564)
          3. ภาพถ่ายกิจกรรม ต้องระบุวัน เวลา สถานที่จัดกิจกรรมที่ชัดเจน
          4. พิจารณาว่าผู้บังคับบัญชา ได้สั่งการอนุมัติให้นำประกาศเจตจำนงสุจริตของผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานไปเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ มีแบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือไม่ หรือมีการสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่นร่วมด้วย
EB 17 : หน่วยงานมีแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรมจริยธรรม ประจำปีของหน่วยงาน
องค์ประกอบด้านข้อมูลในการตรวจประเมินในระบบ MITAS
          ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ระดับจังหวัดและระดับ เขตสุขภาพ พิจารณาหลักฐานของหน่วยรับตรวจที่แสดงถึงแผนปฏิบัติการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปีของหน่วยงาน และแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรมจริยธรรมประจำปีของหน่วยงาน รายละเอียดมีดังนี้
          1. แผนปฏิบัติการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปีของหน่วยงาน ดำเนินการตามคู่มือแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่ผ่านความเห็นชอบและลงนามอนุมัติแผนปฏิบัติการฯ โดยผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน ในเดือนพฤศจิกายน 2563 (ไม่ต้องส่งศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงสาธารณสุข)
          2. แผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรมจริยธรรมของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ราชการบริหารส่วนภูมิภาคประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่ผ่านความเห็นชอบและลงนามอนุมัติแผนปฏิบัติการฯ โดยผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 โดยมี
                    2.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนชมรมจริยธรรมของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขราชการบริหารส่วนภูมิภาคที่ลงนามโดยผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน (เป็นคำสั่งเดิม หรือมีการทบทวนคำสั่งกรณีมีการเปลี่ยนแปลง)
                    2.2 แผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรมจริยธรรมของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขราชการบริหารส่วนภูมิภาคประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (แบบฟอร์มที่ 1) (แผน ฯ ข้อ 2. ส่งศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงสาธารณสุข ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์)
          3. พิจารณาว่าผู้บังคับบัญชา ได้สั่งการให้นำ
                    - แผนปฏิบัติการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปีของหน่วยงาน
                    - แผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรมจริยธรรมประจำปีของหน่วยงานที่ผ่านความเห็นชอบและลงนามอนุมัติแล้ว
ไปเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน และมีแบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือไม่
EB 18 : หน่วยงานมีรายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปราม การทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปีของหน่วยงาน และแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม ของชมรมจริยธรรม ประจำปีของหน่วยงาน
องค์ประกอบด้านข้อมูลในการตรวจประเมินในระบบ MITAS
          ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ระดับจังหวัดและระดับ เขตสุขภาพ พิจารณาหลักฐานของหน่วยรับตรวจที่แสดงถึงผลการกำกับติดตามการดำเนินการตามแผนปฏิบัติ การป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปีของหน่วยงาน และแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรมจริยธรรมของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ราชการบริหารส่วนภูมิภาคประจำปีของหน่วยงาน รายละเอียดมีดังนี้
          1. ผลการกำกับติดตามการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                    1.1 มีลักษณะเป็นรูปเล่มรายงาน
                    1.2 มีเนื้อหาที่แสดงถึงผลการกำกับติดตามการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปีของหน่วยงาน รอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน
                         - รอบ 6 เดือน คือ เดือนมีนาคม 2564
                         - รอบ 12 เดือน คือ เดือนกันยายน 2564
                    1.3 ผู้บังคับบัญชา ต้องรับทราบ ผลการกำกับติดตามการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปีของหน่วยงาน
                         - รอบ 6 เดือน คือ เดือนมีนาคม 2564
                         - รอบ 12 เดือน คือ เดือนกันยายน 2564 ที่มีการสั่งการอนุญาตให้นำไปเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ และมีแบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ ของหน่วยงาน
          2. ผลการกำกับติดตามการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรมจริยธรรม ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                    2.1 ดำเนินการตามแบบฟอร์มการรายงานและการติดตามประเมินผลฯ
                    - แบบฟอร์มที่ 2 แบบรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรมจริยธรรมของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ราชการบริหารส่วนภูมิภาคประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                         - รอบ 6 เดือน คือ เดือนมีนาคม 2564 (วันที่ 16 มีนาคม 2564)
                         - รอบ 12 เดือน คือ เดือนกันยายน 2564 (วันที่ 15 กันยายน 2564)
                    - แบบฟอร์มที่ 3 แบบติดตามประเมินผลแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรมจริยธรรมของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2564
                         - รอบ 6 เดือน คือ เดือนมีนาคม 2564 (วันที่ 16 มีนาคม 2564)
                         - รอบ 12 เดือน คือ เดือนกันยายน 2564 (วันที่ 15 กันยายน 2564) เป็นไปตามคู่มือการขับเคลื่อนชมรมจริยธรรมของหน่วยงานในสังกัดสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จัดส่งตามปฏิทิน ที่กำหนดในคู่มือ ฯ ทุกประการ
                    2.2 พิจารณาว่าผู้บังคับบัญชา ได้รับทราบผลการกำกับติดตามการดำเนินการตามข้อ 1. และข้อ 2. สั่งการให้ไปเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ และมีแบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือไม่

ตัวชี้วัดที่ 8 : การป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน

EB 19 : หน่วยงานมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนของหน่วยงาน
องค์ประกอบด้านข้อมูลในการตรวจประเมินในระบบ MITAS
          ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ระดับจังหวัดและระดับเขตสุขภาพ พิจารณาหลักฐานของหน่วยรับตรวจส่งหลักฐานที่แสดงถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน รายละเอียดมีดังนี้
          1. หลักฐานการประชุมเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนของหน่วยงานที่ชัดเจน
          2. หลักฐานรายงานผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนของหน่วยงานที่ชัดเจน ตามเอกสารประกอบการบรรยายโครงการอบรมให้ความรู้เกณฑ์การประเมิน ITA ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขราชการบริหารส่วนภูมิภาคประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของทุกเขตสุขภาพ ที่มีลักษณะเป็นรูปเล่มรายงาน
          3. พิจารณาว่าผู้บังคับบัญชาได้สั่งการให้นำรายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนไปเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ มีแบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือไม่
EB 20 : หน่วยงานมีการจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน โดยการกำหนดมาตรการ และวางระบบเพื่อจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนของหน่วยงาน
องค์ประกอบด้านข้อมูลในการตรวจประเมินในระบบ MITAS
          ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ระดับจังหวัดและระดับเขตสุขภาพ พิจารณาหลักฐานของหน่วยรับตรวจที่แสดงถึงการกำหนดมาตรการและวางระบบเพื่อจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนของหน่วยงานที่ได้จากข้อ EB 19 รายละเอียดมีดังนี้
          1. มีลักษณะเป็นคำสั่ง/ข้อสั่งการ/ประกาศ โดยผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานหรือผู้บริหารที่ได้รับมอบหมาย
          2. มีแนวทางการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนของหน่วยงานที่มีความสอดคล้องตามบทวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนของหน่วยงาน ที่ได้จากข้อ EB 19
          3. มีการกำหนดกลไกการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยการรายงานผลการดำเนินงานเพื่อจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนของหน่วยงาน
          4. พิจารณาว่าผู้บังคับบัญชาได้สั่งการให้นำแนวทางการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนของหน่วยงาน และรายงานการกำกับติดตามไปเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน มีแบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือไม่
EB 21 : หน่วยงานมีการอบรมให้ความรู้ภายในหน่วยงาน เรื่องการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน
องค์ประกอบด้านข้อมูลในการตรวจประเมินในระบบ MITAS
          ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ระดับจังหวัดและระดับเขตสุขภาพพิจารณาหลักฐานของหน่วยรับตรวจที่แสดงถึงการอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนแก่บุคลากรในหน่วยงาน รายละเอียดมีดังนี้
          1. หลักฐานการจัดโครงการอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนแก่บุคลากรในหน่วยงาน
          2. รายชื่อผู้เข้าร่วมอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนแก่บุคลากรในหน่วยงานสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จะต้องนำเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ความรับผิดชอบเข้าร่วมการอบรมด้วย
          3. รายงานผลการอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนแก่บุคลากรในหน่วยงาน
          4. ภาพกิจกรรม ต้องระบุวัน เวลา สถานที่จัดกิจกรรมการอบรมที่ชัดเจน
          5. พิจารณาว่าผู้บังคับบัญชาได้รับทราบผลการอบรมและได้สั่งการให้นำรายละเอียดตามข้อ 1. ถึงข้อ 4. เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์และมีแบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์หรือไม่ หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น (ถ้ามี)

ตัวชี้วัดที่ 9 : การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร

EB 22 : หน่วยงานมีการเสริมสร้างวัฒนธรรมสุจริตและต่อต้านการทุจริตภายใต้แนวคิด “ จิตพอเพียงต้านทุจริต ”
องค์ประกอบด้านข้อมูลในการตรวจประเมินในระบบ MITAS
          ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ระดับจังหวัดและระดับเขตสุขภาพ พิจารณาหลักฐานของหน่วยรับตรวจส่งหลักฐานที่แสดงถึงการเสริมสร้างวัฒนธรรมสุจริตและต่อต้านการทุจริตภายใต้แนวคิด “ จิตพอเพียงต้านทุจริต ” รายละเอียดมีดังนี้
          1. หลักฐานการจัดโครงการ / กิจกรรม ภายใต้แนวคิด “ จิตพอเพียงต้านทุจริต ” หรือ โมเดล STRONG ที่ใช้พันธะสัญญาร่วมกัน คือ “ สาธารณสุข ซื่อสัตย์ โปร่งใส ตื่นรู้ สู้ทุจริต จิตพอเพียง ”
          2. รายชื่อผู้เข้าโครงการ / กิจกรรม ภายใต้แนวคิด “ จิตพอเพียงต้านทุจริต ” สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จะต้องนำบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ และความร่วมมือจากชุมชน (ถ้ามี) เข้าร่วมโครงการ / กิจกรรมด้วย
          3. รายงานผลการจัดโครงการ / กิจกรรม ภายใต้แนวคิด “ จิตพอเพียงต้านทุจริต ”
          4. ภาพกิจกรรม ต้องระบุวัน เวลา สถานที่จัดโครงการ / กิจกรรม ที่ชัดเจน
          5. พิจารณาว่าผู้บังคับบัญชาได้รับทราบผลการจัดโครงการ / กิจกรรม ภายใต้แนวคิด “ จิตพอเพียง ต้านทุจริต ” และได้สั่งการให้นำรายละเอียดตามข้อ 1. ถึงข้อ 4. เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานและมีแบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
EB 23 : หน่วยงาน มีการรวมกลุ่มของบุคลากรในหน่วยงานในนาม “ ชมรม STRONG … ”
องค์ประกอบด้านข้อมูลในการตรวจประเมินในระบบ MITAS
          ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ระดับจังหวัดและระดับเขตสุขภาพ พิจารณาหลักฐานของหน่วยรับตรวจที่แสดงถึงการรวมกลุ่มของบุคลากรในหน่วยงานในนาม “ ชมรม STRONG … ” กลไกหลักในการเฝ้าระวังและแจ้งเบาะแสของหน่วยงาน
          1. หลักฐานการรวมกลุ่มของบุคลากรในหน่วยงานในนาม “ ชมรม STRONG … ” ที่มีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งชมรม STRONG ... ที่ชัดเจน ทั้งนี้เพื่อรณรงค์หรือส่งเสริมให้หน่วยงานมีกลไกในการเฝ้าระวังและแจ้งเบาะแสของหน่วยงาน
          2. หลักฐานที่แสดงถึงแนวทางการดำเนินกิจกรรมของชมรม STRONG ...
          3. หลักฐานที่แสดงถึงรายชื่อสมาชิกของชมรม STRONG ...
          4. หลักฐานที่แสดงถึงกิจกรรมการดำเนินงานของชมรม STRONG ... ที่มีความต่อเนื่อง
EB 24 : หน่วยงานมีนโยบายและมีแนวปฏิบัติที่เคารพสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของผู้ปฏิบัติงาน มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน
องค์ประกอบด้านข้อมูลในการตรวจประเมินในระบบ MITAS
          ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ระดับจังหวัดและระดับเขตสุขภาพ พิจารณาหลักฐานของหน่วยรับตรวจที่แสดงถึงการเสริมสร้างวัฒนธรรมที่เคารพสิทธิมนุษยชนที่เป็นจริยธรรมสากล ในการเคารพสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของผู้ปฏิบัติงานมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศในการทำงาน
          1. มีเนื้อหาที่แสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความเท่าเทียมกันระหว่างบุคคล และสร้างองค์กรที่ปราศจากการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงานด้วยการปฏิบัติต่อกันอย่างให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกัน และไม่กระทำการใดที่เป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศต่อผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน
          2. เจตนารมณ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงานดำเนินการให้เสร็จสิ้นในไตรมาสที่ 2 (ระยะเวลาเดือนตุลาคม 2563 ถึงเดือนมีนาคม 2564)
          3. มีหลักฐานเป็นคู่มือแนวปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงานของหน่วยงาน
          4. มีหลักฐานการแจ้งเวียน
          5. มีรายงานการกำกับติดตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงานของหน่วยงาน ตามแบบรายงานที่กำหนดดำเนินการให้เสร็จสิ้นในไตรมาสที่ 4
          6. พิจารณาว่าผู้บังคับบัญชา ได้สั่งการให้นำหลักฐานเจตนารมณ์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน ตามข้อ 2. ถึงข้อ 5. ไปเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ มีแบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือไม่