UTP_ITA

การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ [ 2563 ]

INTEGRITY AND TRANSPARENCY ASSESSMENT : ITA
ITA คืออะไร ?
ITA คืออะไร ?
          หากจะว่าไปแล้ว การวัดหรือประเมินระดับการทุจริตคอร์รัปชันดูจะเป็นเรื่องยากที่สุดในกระบวนการศึกษาวิจัยเรื่อง การต่อต้านทุจริต ( Anti-Corruption Study ) คำถามที่ว่า ทำไมเราต้องวัดหรือประเมินระดับการคอร์รัปชันนั้น คำตอบที่ได้ คือ หากเราไม่วัด เราก็ไม่มีทางรู้ว่า สังคมเรามีปัญหาคอร์รัปชันมากน้อยแค่ไหน 20 ปีมาแล้ว ที่องค์กรความโปร่งใสสากล หรือ Transparency International ได้สร้างตัวชี้วัดระดับการทุจริตขึ้นมา หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Corruption Perception Index ( CPI ) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนภาพลักษณ์ระดับการคอร์รัปชันของประเทศต่างๆ ในโลก CPI ทำให้เรารู้ว่า ประเทศใดที่มีรัฐบาลโปร่งใส การบริหารงานเต็มไปด้วยธรรมาภิบาล ตรวจสอบได้ และมีผู้พร้อมแสดงความรับผิดชอบเมื่อกระทำผิด ( Accountability ) ในทำนองเดียวกัน CPI ทำให้เราทราบว่า ประเทศใดมีปัญหาด้านความโปร่งใส มีรัฐบาลขี้โกง มีระบบราชการที่ฉ้อฉล มีนักการเมืองขี้ฉ้อ เพราะสิ่งที่ว่ามานี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งสิ้น
          สำหรับประเทศไทยแล้ว รัฐเองพยายามสร้างตัวชี้วัดความโปร่งใสในหน่วยงานภาครัฐ ( Transparency Index หรือ TI ) โดยศูนย์วิจัยเพื่อต่อต้านการทุจริต ป๋วย อึ๊งภากรณ์ สำนักงาน ป.ป.ช. เมื่อปี พ.ศ. 2552 ศูนย์วิจัยป๋วยฯ เริ่มพัฒนาดัชนีวัดความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ พร้อมๆ กับการศึกษาแนวคิดการประเมินคุณธรรมการดำเนินงาน ( Integrity Assessment หรือ IA ) จนกระทั่งปี พ.ศ. 2554 ศูนย์วิจัยป๋วยฯ ดำเนินการวัดความโปร่งใสของหน่วยงานนำร่องภาครัฐ โดยเฉพาะส่วนราชการในส่วนกลางที่ " อาสา " มาให้วัดระดับความโปร่งใส ต่อมานักวิจัยนำดัชนีวัดความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐมาปรับรวมกับ Integrity Assessment ซึ่งใช้ประเมินคุณธรรมการดำเนินงานจนกลายเป็นดัชนีตัวใหม่ที่เรียกว่า Integrity & Transparency Assessment ( ITA ) ดัชนี ITA เรียกเต็มๆ ว่า " การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ " ซึ่งมีมหาวิทยาลัยหอการค้าเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำดัชนี ITA เป็นส่วนผสมระหว่าง TI และ IA และเรียกรวมๆ กันว่าเป็น Thailand Integrity & Transparency Assessment เหตุที่ต้องใช้ว่า Thailand นำหน้าด้วยก็เพื่อเป็นเครื่องมือป้องกันทุจริตคอร์รัปชันที่มีเอกลักษณ์เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทยๆ กรอบแนวคิดการประเมินของ ITA มีทั้งหมด 5 เรื่อง ได้แก่
          (1) ประเมินความโปร่งใส ( Transparency )
          (2) ประเมินความรับผิดชอบ ( Accountability )
          (3) ประเมินการทุจริตคอร์รัปชัน ( Corruption )
          (4) ประเมินวัฒนธรรมคุณธรรม ( Integrity Culture )
          (5) ประเมินคุณธรรมการทำงาน ( Work Integrity )
การสร้างกรอบแนวคิดการประเมินขึ้นก่อนนี้ ทำให้การประเมินมีทิศทางชัดเจน แม้เราจะมองว่า การวัดคุณธรรมเป็นเรื่องยากเพราะคุณธรรมเป็นนามธรรม ( Abstract ) มากกว่าจะจับต้องได้ อย่างไรก็ดี คุณธรรมที่ถูกประเมินนี้ วัดได้จาก วัฒนธรรมองค์กร การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันในองค์กร ขณะที่คุณธรรมการทำงานก็พิจารณาจาก การบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ และความเป็นธรรมในการมอบหมายงาน
          ITA เป็นดัชนีที่พยายามสร้างออกมาให้เป็นรูปธรรมเท่าที่ผู้ประเมินจะทำได้ เพราะหลังจากการดำเนินการแล้ว ผู้ประเมินจะคำนวณคะแนนคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐโดยรวมออกมา ค่าดัชนี ITA อยู่ระหว่าง 0-100 ถ้าหน่วยงานใดมีค่าระดับ ITA เข้าใกล้ 100 แสดงว่าหน่วยงานนั้น มีระดับคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานสูงมาก ขณะที่ค่า ITA เข้าใกล้ 0 ก็แสดงว่า หน่วยงานรัฐนั้นมีระดับความโปร่งใสของการดำเนินงานและคุณธรรมต่ำมาก
          ปัจจุบัน เกณฑ์การให้ค่าคะแนน ITA แบ่งเป็น 5 ระดับ คือ
          - สูงมาก (80-100)
          - สูง (60-79.99)
          - ปานกลาง (40-59.99)
          - ต่ำ (20-39.99)
          - ต่ำมาก (0-19.99)
การรวบรวมข้อมูลการประเมินมีที่มาทั้งจากบุคคลภายนอก บุคคลภายใน เก็บหลักฐานเชิงประจักษ์ ( Evidence Base ) และใช้ข้อมูลตัวชี้วัดที่หน่วยงานอื่นรวบรวมและดำเนินการเป็นดัชนี อาจกล่าวได้ว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สำนักงาน ป.ป.ช. พยายามพัฒนาและปรับปรุงตัวชี้วัดเพื่อประเมินความโปร่งใสและคุณธรรมของหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดัชนี ITA จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อ " ผู้เห็นคุณค่า " ของมันนำไปกำหนดนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน หรือ กำหนดพื้นที่ความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ เช่น สตง. ซึ่งหากทำได้จะเป็นการ " บูรณาการการต่อต้านคอร์รัปชัน " ที่ไม่ได้เป็นแค่เพียง " วาทกรรม " หรูๆ แต่ทำอะไรไม่ได้จริง การต่อต้านคอร์รัปชันมิใช่ การต่อต้านด้วยวาทกรรมแบบ " ไร้เดียงสา " ที่มองว่า ปัญหาคอร์รัปชันเป็นแค่เรื่องของคนชั่วเพียงอย่างเดียว พฤติการณ์คอร์รัปชันมีความลึกซึ้งละเอียดอ่อน เกี่ยวข้องกับการวางกลไกควบคุม ล้อมกรอบ และจำกัดปัญหาไม่ให้ลุกลามบานปลาย โดยอาศัยความรู้เป็นเครื่องนำทาง มิใช่เอาแต่อารมณ์เคียดขึ้งชิงชังป็นตัวนำ เพราะการใช้ " สติปัญญา " ในการแก้ปัญหา คือที่มาของการแก้ปัญหาของสังคมที่เจริญแล้ว

EB 1 : หน่วยงานมีการวิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีงบประมาณ

รายละเอียด เนื้อหา
1. บันทึกข้อความรายงานผู้บริหารรับทราบ และ/หรือ พิจารณาสั่งการ และ ปรากฏการขออนุญาตน เผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือสื่อสาร เผยแพร่ในช่องทางอื่น
          1.1 บันทึกข้อความรายงานสรุปการวิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้างในปีงบประมาณ
          1.2 ผู้บริหารรับทราบ / สั่งการอนุญาตให้นำรายงานเผยแพร่ใน Web Site
          1.3 ในบันทึกมีการขออนุญาตเผยแพร่บน Web Site ของหน่วยงาน
2. รายงานการวิเคราะห์ผลการจัดชื้อจัดจ้างในรอบปีงบประมาณ
3.แบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่าน Web Site หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น และ Print Screen จาก Web Site หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
          3.1 แบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์
          3.2 แนบคำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบเผยแพร่ข้อมูลผ่าน Web Site
          3.3 Capture หน้าจอ และ Print Screen จาก Web Site ของหน่วยงาน

EB 2 : หน่วยงานมีการกำหนดมาตรการ กลไก หรือการวางระบบในการดำเนินการเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง

รายละเอียด เนื้อหา
ส่วนที่ 1 : เรื่องการกำหนดมาตราการกลไกการส่งเสริมความโปร่งใส
1. บันทึกข้อความ
          1.1 บันทึกข้อความ ลงนามคำสั่ง / ข้อสั่งการ และปรากฏการขออนุญาตนำเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
          1.2 บันทึกข้อความเสนอผู้บริหารรับทราบ / สั่งการ เกี่ยวกับ มาตรการ กลไก หรือการวางระบบในการดำเนิน
2. คำสั่งอย่างเป็นทางการ
          2.1 ข้อสั่งการอย่างเป็นทางการที่มีลักษณะเป็น คำสั่ง / ประกาศ ลงนามโดยผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน หรือผู้บริหารที่ได้รับมอบอำนาจ
3. กรอบแนวทางการดำเนินการเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง
          3.1 ประกาศเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีงบประมาณ
                    3.1.1 บันทึกรายงานผู้บริหารรับทราบ และ/หรือพิจารณา สั่งการ
                    3.1.2 ปรากฏการขออนุญาตเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
                    3.1.3 หนังสือจัดสรรงบประมาณ ( ใบจัดสรรงบฯ )
                    3.1.4 แผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีงบประมาณตามวงเงินที่ได้รับจัดสรร ต้องแสดงรายละเอียดครบทั้ง 3 รายการ
                    3.1.5 มีคำสั่งมอบหมายการปิดประกาศ หรือปลด
                    3.1.6 ภาพถ่ายการเผยแพร่แผนฯ ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงาน
                    3.1.7 มีแบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่าน Web Site ของหน่วยงาน
                    3.1.8 Print Screen จาก Web Site ของหน่วยงาน
ส่วนที่ 2 : ผลการดำเนินการ
          3.2 มีรายงานผลการดำเนินการตามแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี
                    3.2.1 บันทึกข้อความรายงานผู้บริหารรับทราบ และ/หรือ พิจารณาสั่งการ
                    3.2.2 ในบันทึกข้อความปรากฏการขออนุญาตนำเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่นๆ
                    3.2.3 รายงานผลการดำเนินการตามแผนการจัดซื้อจัดจ้าง
                    3.2.4 แบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่าน Web Site ของหน่วยงาน
                    3.2.5 Print Screen จาก Web Site ของหน่วยงาน
ส่วนที่ 3 : เรื่องการแสดงความบริสุทธิ์ใจ
          3.3 มีการป้องกันผู้ที่มีหน้าที่ดำเนินการในการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญา
                    3.3.1 มีแนวทางการตรวจสอบถึงความเกี่ยวข้องระหว่างเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและผู้เสนองาน เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน ( เป็นของหน่วยงานจัดทำเป็นคำสั่งหรือระเบียบหรือประกาศ )
                    3.3.2 หนังสือแจ้งเวียนหลักฐานเกี่ยวกับแนวทางการตรวจสอบถึงความเกี่ยวข้องระหว่างเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและผู้เสนองาน เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน
                    3.3.3 หนังสือเวียนของกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับแบบแสดงความบริสุทธิ์ใจในการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานที่มี 2 แบบ คือ วงเงินเล็กน้อยไม่เกิน 100,000 บาท และวงเงินเกิน 100,000 บาท
                    3.3.4 หนังสือขออนุญาตเผยแพร่แนวทางการตรวจสอบความเกี่ยวข้องระหว่างเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและผู้เสนองานเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนบน Web Site ของหน่วยงานและผู้บริหารรับทราบและสั่งการ
                    3.3.5 แบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่าน Web Site ของหน่วยงาน และ Print Screen จาก Web Site ของหน่วยงาน
                    3.3.6 หลักฐานชุดใบสำคัญการเบิกจ่ายฯ ปีงบประมาณที่ประกอบไปด้วยชุดจัดซื้อจัดซื้อจ้าง และมีใบแสดงความบริสุทธิ์ใจ 2 ชุด
                              - ชุดจัดซื้อจัดจ้างไม่เกิน 100,000 บาท
                              - ชุดจัดซื้อจัดจ้างเกิน 100,000 บาท

EB 3 : หน่วยงานมีการเผยแพร่การจัดซื้อจัดจ้างประจำปี

รายละเอียด เนื้อหา
1. หลักฐานที่แสดงถึงการเผยแพร่ในช่องทางระบบเครือข่าวสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและหน่วยงานของรัฐ และปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ หน่วยงานของรัฐ ( ภาพถ่ายหน้าจอ ) จำนวน 2 โครงการ
          1.1 เอกสารการเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้างในช่องทางระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง ( Print Screen ) การจัดซื้อจัดจ้าง วงเงิน 5,000 บาทขึ้นไป จำนวน 1 โครงการ ( หลักฐานในระบบ e-GP )
          1.2 เอกสารการเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้างในช่องทางระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง ( Print Screen ) การจัดซื้อจัดจ้าง วงเงินสูงสุดจำนวน 1 โครงการ ( หลักฐานในระบบ e-GP )
          1.3 กรณีที่หน่วยงานมีแผนกรจัดซื้อจัดจ้างไม่เกิน 5,000 บาท ให้แสดงหลักฐานการเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้างใน WebSite ของหน่วยงาน และปิดประกาศเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้างจากบอร์ดประชาสัมพันธ์
          1.4 ภาพถ่ายการปิดประกาศเผยแพร่แผนจัดซื้อจัดจ้างจากบอร์ดประชาสัมพันธ์ของหน่วยงาน
          1.5 Print Screen จากระบบ Web Site หน่วยงาน

EB 4 : หน่วยงานมีการเผยแพร่บันทึกรายละเอียดวิธีการและขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างอย่างเป็นระบบ

รายละเอียด เนื้อหา
1. บันทึกข้อความรายงานผู้บริหารรับทราบ และ/หรือ พิจารณาสั่งการ และปรากฏการขอนุญาตนำข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างเผยแพร่บน Web Site ของหน่วยงานหรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
2. รายงานแบบสรุปผลการจัดหาพัสดุในแต่ละรอบเดือน ( แบบ สขร.1 )
3. แบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่าน Web Site หรือ สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น และ Print Screen จาก Web Site หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
          3.1 แบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่าน Web Site หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
          3.2 Print Screen จาก Web Site ของหน่วยงาน หรือ สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น

EB 5 : หน่วยงานของท่านเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจหลักของหน่วยงานอย่างไร

รายละเอียด เนื้อหา
1. บันทึกข้อความขออนุมัติโครงการ
2. โครงการ/แผนงาน ( กรณีที่เป็นแผนงานต้องมีเนื้อหา ขั้นตอน เหมือนกับโครงการ )
3. รายงานประชุม / โครงการ / กิจกรรม ที่แสดงชื่อผู้ใช้บริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มาร่วมแสดงความคิดเห็นตามภารกิจหลักที่เลือก
4. ภาพถ่ายกิจกรรมประกอบเพิ่มเติม
5. หนังสือรายงานผู้บริหารรับทราบ และ/หรือ พิจารณาสั่งการ และปรากฏการขออนุญาตนำเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
6. แบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น และ Print Screen จาก Web Site ของหน่วยงาน หรือที่สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
7. Link แสดงหลักฐานจาก Web Site ของหน่วยงาน หรือที่สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่นในระบบ MITAS

EB 6 : ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนงาน/โครงการ ตามภารกิจหลักของหน่วยงานหรือไม่

รายละเอียด เนื้อหา
1. บันทึกข้อความขออนุมัติดำเนินโครงการ
2. โครงการ / แผนงาน ( กรณีที่เป็นแผนงานต้องมีเนื้อหา ขั้นตอน เหมือนกับโครงการ )
3. รายงานประชุม / โครงการ / กิจกรรมที่แสดงชื่อผู้ใช้บริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มาร่วมจัดทำแผนงาน/โครงการตามภารกิจหลักที่เลือก
4. แผนงาน/โครงการตามภารกิจหลักที่เลือก
5. ภาพถ่ายกิจกรรมประกอบเพิ่มเติม
6. บันทึกข้อความรายงานผู้บริหารรับทราบ และ/หรือ พิจารณาสั่งการ และปรากฏการขออนุญาตนำเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงาน หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
7. แบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่าน Web Site ของหน่วยงาน หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น และ Print Screen จาก Web Site ของหน่วยงาน หรือที่สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
8. Link แสดงหลักฐานจาก Web Site ของหน่วยงาน หรือที่สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่นในระบบ MITAS

EB 7 : ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการโครงการตามภารกิจหลักของหน่วยงานหรือไม่

รายละเอียด เนื้อหา
1. บันทึกข้อความขออนุมัติดำเนิน
2. โครงการ/แผนงาน ( กรณีที่แผนงานต้องมีเนื้อหา ขั้นตอน เหมือนกับโครงการ )
3. รายงานประชุม / โครงการ / กิจกรรมที่แสดงชื่อผู้ใช้บริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เข้ามาร่วมดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรม ของภารกิจหลักที่หน่วย เลือกจากการประชุม หรือออกไปดำเนินกิจกรรมนอกสถานที่
4. ภาพถ่ายกิจกรรมประกอบเพิ่มเติม
5. บันทึกข้อความรายงานผู้บริหารรับทราบ และ/หรือ พิจารณาสั่งการ และปรากฏการขออนุญาตนำเผยแพร่บน Web Site ของหน่วยงาน หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
6. แบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่าน Web Site ของหน่วยงาน หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น และ Print Screen จาก Web Site ของหน่วยงาน หรือที่สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
7. Link แสดงหลักฐานจาก Web Site ของหน่วยงาน หรือที่สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น ในระบบ MITAS

EB 8 : หน่วยงานมีการกำหนดมาตรการ กลไก หรือการวางระบบในการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน

รายละเอียด เนื้อหา
1. บันทึกข้อความลงนามคำสั่ง/ข้อสั่งการ และปรากฏการขออนุญาตนำเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงาน
2. คำสั่ง / ข้อสั่งการ มาตรการ กลไก หรือระบบในการดำเนินการกำหนดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลผ่าน Web Site ในหน่วยงาน โดยผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน
3. กรอบแนวทางการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน ตามที่หน่วยงานได้แสดงเอกสาร / หลักฐาน
          3.1 จะต้องมีลักษณะ / ประเภทข้อมูลที่หน่วยงานต้องเผยต่อสาธารณะ
          3.2 มีการระบุวิธีการ ขั้นตอนการดำเนินงาน ระบุเวลาการดำเนินการและผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะอย่างชัดเจน
          3.3 มีการกำหนดกลไกการกำกับติดตามการดำเนินงานเผยแพร่ข้อมูลอย่างต่อเนื่องในลักษณะการรายงานผลการกำกับติดตามการดำเนิน งาน และสรุปปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่าน Web Site ของหน่วยงาน ต่อผู้บริหาร
4. รายงานผลการติดตามการดำเนินงาน และสรุปปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่าน Web Site ของหน่วยงาน ต้องเป็นรายงานของปีงบประมาณ
5. แบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่าน Web Site ของหน่วยงาน และ Print Screen จาก Web Site ของหน่วยงาน
6. Link แสดงหลักฐานจาก Web Site ของหน่วยงาน หรือที่สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น ในระบบ MITAS

EB 9 : หน่วยงานมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบัน Link แสดงหลักฐานจากเว็บไซต์ของหน่วยงานในระบบ MITAS ที่แสดงการเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานที่เป็นปัจจุบัน

รายละเอียด เนื้อหา
1. ข้อมูลพื้นฐานที่เป็นปัจจุบัน
          1.1 ผู้บริหารหน่วยงาน
          1.2 นโยบายของผู้บริหาร
          1.3 โครงสร้างหน่วยงาน 1.4 หน้าที่และอำนาจของหน่วยงาน ตามกฎหมายจัดตั้งหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
          1.5 วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม MOPH
          1.6 ยุทธศาสตร์ของประเทศโดยรวม ( สามารถ Link จากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ )
          1.7 พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562
          1.8 ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552
          1.9 ข้อบังคับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยจรรยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560
          1.10 Infographic คณะกรรมการจริยธรรม ประจำสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
          1.11 จรรยาบรรณกระทรวงสาธารณสุข ( MOPH Code of Conduct )
2. นโยบายและยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน
3. แผนปฏิบัติการประจำปีของหน่วยงาน และการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีของหน่วยงาน ( ทุกแผน )
4. แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีของหน่วยงานและการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีของหน่วยงาน
5. หลักเกณฑ์ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาในกรณีที่มีการร้องเรียนการปฏิบัติงานหรือการให้บริการของเจ้าหน้าที่ และกรณีร้องเรียนเรื่องการทุจริตและประพฤติมิชอบ
6. รายงานผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนการปฏิบัติงานหรือให้บริการ และการร้องเรียนเรื่องการทุจริตและประพฤติมิชอบ
7. ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง ประกอบด้วย
          7.1 แผนการวิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีที่ผ่านมา
          7.2 แผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี
          7.3 ผลการดำเนินการตามแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดในกรอบแนวทาง
          7.4 ประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อตรวจสอบบุคลากรในหน่วยงานด้านการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560 และแบบแสดงความบริสุทธิ์ใจในการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานในการเปิดเผยข้อมูลความชัดแย้งทางผลประโยชน์ของหัวหน้าเจ้าหน้าที่
          7.5 แบบสรุปผลการจัดหาพัสดุในแต่ละรอบเดือน ( แบบ สขร.1 )
8. มาตรฐานหรือคู่มือการปฏิบัติงาน
9. มาตรฐานขั้นตอนการให้บริการ ( ภารกิจให้บริการประชาชนตาม พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 )

EB 10 : หน่วยงานมีการเผยแพร่แผนปฏิบัติราชการประจำปี

รายละเอียด เนื้อหา
1. บันทึกข้อความขออนุมัติแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณของหน่วยงาน และปรากฏการขออนุญาตนำเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงาน
2. แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณของหน่วยงาน ประกอบด้วย ( อย่างน้อย )
          2.1 แผนงาน
          2.2 โครงการ
          2.3 งบประมาณ
          2.4 ระยะเวลาดำเนินการ
3. Link แสดงหลักฐานจากเว็บไซต์ของหน่วยงาน หรือที่สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น ในระบบ MITAS
4. ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ ( Evidence Based ) ระดับจังหวัดและระดับเขตสุขภาพ ตรวจสอบจาก Link ตามหลักฐานข้อ EB9

EB 11 : หน่วยงานมีการเผยแพร่รายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี บันทึกข้อความรับทราบรายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณของหน่วยงาน และปรากฏการขออนุญาตนำเผยแพร่บน Web Site ของหน่วยงาน

รายละเอียด เนื้อหา
1. รายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณของหน่วยงาน ( ที่ผ่านมา ) ประกอบด้วย
          1.1 ผลการประเมิน
          1.2 แนวทางในการแก้ไขเพื่อปรับปรุงและพัฒนา
2. Link แสดงหลักฐานจาก Web Site ของหน่วยงาน หรือที่สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่นในระบบ MITAS
3. ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ ( Evidence Based ) ระดับจังหวัดและระดับเขตสุขภาพ ตรวจสอบจาก Link ตามหลักฐานข้อ EB9 ได้

EB 12 : หน่วยงานมีการเผยแพร่การกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี

รายละเอียด เนื้อหา
1. บันทึกข้อความรับทราบการกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามที่ระบุในแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณของหน่วยงาน และปรากฏการขออนุญาตนำเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงาน
2. ผลการกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามที่ระบุในแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณของหน่วยงาน ประกอบด้วย
          2.1 ความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการหรือกิจกรรม
          2.2 การใช้จ่ายงบประมาณ
                    รอบที่ 1 ตัดยอด ณ วันสิ้นเดือนกุมภาพันธ์
                    รอบที่ 2 ตัดยอด ณ วันสิ้นเดือนสิงหาคม
          3. Link แสดงหลักฐานจาก Web Site ของหน่วยงาน หรือที่สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น ในระบบ MITAS
4. ผู้ตรวจประเมินแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence Based) ระดับจังหวัดและระดับเขตสุขภาพ ตรวจสอบจาก Link ตามหลักฐานข้อ EB9 ได้

EB 13 : หน่วยงานมีการกำหนดมาตรการ กลไก หรือการวางระบบในการบริหารผลการปฏิบัติงานและการดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ผู้มีผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานต่ำ

รายละเอียด เนื้อหา
1. บันทึกข้อความลงนามคำสั่ง และปรากฏการขออนุญาตนำเผยแพร่บน Web Site ของหน่วยงาน
2. คำสั่งหรือประกาศมาตรการการบริหารผลการปฏิบัติงานและ การดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ผู้มีผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานต่ำ
3. กรอบแนวทางการบริหารผลการปฏิบัติงานและการดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ผู้มีผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานต่ำ จะต้องมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
          3.1 มีหลักเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงาน
          3.2 มีหลักเกณฑ์การพิจารณาให้คุณหรือโทษต่อผู้ปฏิบัติงานตามผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานในระดับต่างๆ รวมถึงวิธีการพัฒนาผู้ที่มีผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์
          3.3 มีวิธีการ ขั้นตอน และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบริหารผลการปฏิบัติงาน รายงานผลการดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ผู้มีผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานต่ำต่อผู้บังคับบัญชา
          3.4 มีการกำหนดกลไกการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง
4. หลักฐานการประชุมชี้แจง สื่อสารทำความเข้าใจให้ทราบทั่วทั้งองค์กร
5. หลักฐานหนังสือแจ้งเวียน
6. Link แสดงหลักฐานจาก Web Site ของหน่วยงาน ในระบบ MITAS

EB 14 : หน่วยงานมีการรายงานการประเมินผลเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีของบุคลากรในหน่วยงานและเปิดเผยผลการปฏิบัติราชการอยู่ในระดับดีเด่นและดีมากในที่เปิดเผยให้ทราบในรอบปีงบประมาณ

รายละเอียด เนื้อหา
1. บันทึกข้อความลงนามประกาศ และปรากฏการขออนุญาตนำเผยแพร่บนเว็บไซด์ของหน่วยงาน
2. ประกาศรายงานการประเมินผลเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีของบุคลากรในหน่วยงาน และเปิดเผยผลการปฏิบัติราชการอยู่ในระดับดีเด่นและดีมากในที่เปิดเผยให้ทราบในรอบปีงบประมาณ
          รอบที่ 1 ไม่คำนึงถึงคำสั่งการเลื่อนเงินเดือน
          รอบที่ 2 กรณีที่หน่วยงานดำเนินการแล้วเสร็จ
3. ภาพถ่ายประกอบ
4. Link แสดงหลักฐานจาก Web Site ของหน่วยงานในระบบ MITAS

EB 15 : หน่วยงานมีการเผยแพร่เจตจำนงสุจริตของผู้บริหารต่อสาธารณชน

รายละเอียด เนื้อหา
1. บันทึกข้อความลงนามประกาศเจตจำนงสุจริตของผู้บริหารสูงสุด และปรากฏการขออนุญาตนำเผยแพร่บน Web Site ของหน่วยงานหรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
2. ประกาศเจตจำนงสุจริตของผู้บริหารสูงสุด
3. ภาพถ่ายประกอบ
4. แบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่าน Web Site ของหน่วยงาน หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น และ Print Screen จาก Web Site ของหน่วยงาน หรือที่สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
5. Link แสดงหลักฐานจาก Web Site ของหน่วยงานหรือที่สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่นในระบบ MITAS

EB 16 : หน่วยงานมีการกำหนดมาตรการ กลไก หรือการวางระบบในการจัดการเรื่องร้องเรียนของหน่วยงาน

รายละเอียด เนื้อหา
1. คำสั่งผู้รับผิดชอบโดยผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน หรือผู้บริหารที่ได้รับมอบอำนาจ
2. หลักฐานแสดงช่องทางผ่านระบบหมายเลขโทรศัพท์ / ผ่านระบบ Internet / ผ่านระบบไปรษณีย์ / Application หรือ ช่องทางอื่นๆ ที่หน่วยงานกำหนดตามความเหมาะสม
3. คู่มือปฏิบัติงานการรับเรื่องร้องเรียนทั่วไป และคู่มือปฏิบัติงานการรับเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ ที่ปรากฏหน่วยงาน / ผู้รับผิดชอบ
4. แผนผังขั้นตอนการร้องเรียนของผู้ใช้บริการของหน่วยงาน ทั้งที่เป็นคู่มือ และ/หรือ เป็น Chart ที่ติดบริเวณหน่วยงาน และภาพถ่ายกรณีเป็น Chart ที่ติดบริเวณหน่วยงาน
5. หนังสือรายงานผลการดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนให้ผู้ร้องเรียนทราบ ภายใน 15 วัน
6. ถ้ามีระบบการตอบสนองให้ Print Screen หรือ Capture หน้าจอ แสดงระบบตอบสนอง
7. บันทึกข้อความรับทราบการกำกับติดตามและรายงานสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องเรียนทั้ง 2 ประเภท จำนวน 2 รอบ การประเมิน คือ รอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน โดยมี
          7.1 รายงานสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องเรียนทั่วไป พร้อมระบุปัญหาอุปสรรค และแนวงานแก้ไข
          7.2 รายงานสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ พร้อมระบุปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข
          7.3 กรณีไม่มี่เรื่องร้องเรียนทั้ง 2 ประเด็น หรือประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ต้องรายงานสรุปผลว่าไม่มีเรื่องร้องเรียนนั้นๆ และต้องนำหลักฐานขึ้น Web Site
8. แบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่าน Web Site ของหน่วยงาน
9. Link แสดงหลักฐานจาก Web Site ของหน่วยงาน หรือที่สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่นในระบบ MITAS

EB 17 : หน่วยงานมีการกำหนดมาตรการ กลไก หรือการวางระบบในการป้องกันการรับสินบน

รายละเอียด เนื้อหา
1. บันทึกข้อความลงนามคำสั่ง / ข้อสั่งการ และปรากฏการขออนุญาตนำเผยแพร่บน Web Site ของหน่วยงาน หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
2. คำสั่ง / ข้อสั่งการ หรือ ประกาศมาตรการการป้องกันการรับสินบนทุกรูปแบบตามที่หน่วยงานกำหนด ที่มีการกำหนดกลไกการกำกับติดตาม ประกอบด้วย
          2.1 มาตรการป้องกันการรับสินบนการให้และรับของขวัญแก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หรือผู้บังคับบัญชาในเทศกาลปีใหม่
          2.2 มาตรการป้องกันการรับสินบนในกระบวนการเบิกจ่ายยาตามสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 60
          2.3 มาตรการป้องกันการรับสินบนในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
          2.4 มาตรการป้องกันการรับสินบนประเด็นเงินบริจาคและทรัพย์สินบริจาค
          2.5 มาตรการป้องกันการทุจริตและแก้ไขการกระทำผิดวินัยของเจ้าหน้าที่รัฐในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ มาตรการการใช้รถราชการ มาตรการการเบิกค่าตอบแทน มาตรการการจัดทำโครงการฝึกอบรม ศึกษาดูงาน ประชุม และสัมมนาตามที่กฎหมายกำหนด และมาตรการการจัดหาพัสดุตามที่กฎหมายกำหนด
          2.6 มาตรการการรับส่วนแถมพิเศษ ส่วนชดเชย ส่วนสนับสนุน หรือส่วนอื่นใดเพิ่มเติมจากที่หน่วยงานของรัฐกำหนดไว้ในขอบเขตของงาน หรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ
          2.7 มาตรการการจัดสวัสดิการภายในสถานพยาบาล
3. หลักฐานหนังสือแจ้งเวียน
4. บันทึกข้อความรับทราบการกำกับติดตาม และรายงานสรุปผลประกาศ มาตรการการป้องกันการรับสินบนทุกรูปแบบตามที่หน่วยงานกำหนด
5. แบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่าน Web Site ของหน่วยงาน หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
6. Link แสดงหลักฐานจาก Web Site ของหน่วยงาน หรือที่สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่นในระบบ MITAS

EB 18 : หน่วยงานมีการเสริมสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมสุจริตและการต่อต้านการทุจริตในหน่วยงาน

รายละเอียด เนื้อหา
1. บันทึกข้อความอนุมัติโครงการ / กิจกรรม และปรากฏการขออนุญาตนำเผยแพร่บน Web Site ของหน่วยงานหรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
2. โครงการ / กิจกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเสริมสร้างวัฒนธรรม หรือค่านิยมให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต
3. มีลักษณะเป็นภาพถ่ายกิจกรรมหรือรายงาน ต้องระบุวิธีการดำเนินกิจกรรม วัน เวลา สถานที่จัดกิจกรรมที่ชัดเจน
4. บันทึกข้อความรับทราบการรายงานตามโครงการ / กิจกรรม ต้องระบุวิธีการดำเนินกิจกรรม วัน เวลา สถานที่จัดกิจกรรมที่ชัดเจน
5. แบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่าน Web Site ของหน่วยงาน หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น และ Print Screen จาก Web Site ของหน่วยงาน หรือที่สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
6. Link แสดงหลักฐานจาก Web Site ของหน่วยงาน หรือที่สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่นในระบบ MITAS

EB 19 : หน่วยงานมีการรวมกลุ่มของเจ้าหน้าที่เพื่อการบริหารงานที่โปร่งใสหรือไม่ และกลุ่มดังกล่าวมีกิจกรรมที่แสดงถึงความพยายามที่จะปรับปรุงการบริหารงานของหน่วยงานให้มีความโปร่งใสยิ่งขึ้นหรือไม่

รายละเอียด เนื้อหา
1. หลักฐานการรวมกลุ่มของเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เป็นทางการเพื่อดำเนินกิจกรรมการป้องกันการทุจริตของหน่วยงาน และการบริหารงานที่โปร่งใส
2. การรวมกลุ่มชมรม STRONG มีการกำหนด
          2.1 สมาชิกกลุ่มอย่างชัดเจน
          2.2 วัตถุประสงค์เพื่อการบริหารงานที่โปร่งใสของหน่วยงาน
          2.3 ระเบียบหรือแนวทางการดำเนินงานของกลุ่มที่ชัดเจน
3. หลักฐานกิจกรรมที่แสดงถึงความพยายามที่จะปรับปรุงการบริหารงานของหน่วยงานให้มีความโปร่งใสยิ่งขึ้น
4. หลักฐานสะท้อนความริเริ่มของกลุ่ม เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมความซื่อสัตย์ และพัฒนาความโปร่งใส
5. แบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่าน Web Site ของหน่วยงาน หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น และ Print Screen จาก Web Site ของหน่วยงาน หรือที่สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
6. Link แสดงหลักฐานจาก Web Site ของหน่วยงาน หรือที่สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่นในระบบ MITAS

EB 20 : หน่วยงานมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนในหน่วยงาน

รายละเอียด เนื้อหา
1. หนังสือแสดงหลักฐานการจัดการประชุมเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนในหน่วยงาน
2. สรุปผลรายงานการประชุมฯ
3. รายงานบทวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนในหน่วยงาน ( เป็นรูปเล่ม ตามหลักสากล )
4. หนังสือเสนอผู้บริหารเพื่อทราบ / สั่งการ และปรากฏการขออนุญาตนำเผยแพร่บน Web Site ของหน่วยงาน
5. แบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่าน Web Site ของหน่วยงาน หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น และ Print Screen จาก Web Site ของหน่วยงาน
6. Link แสดงหลักฐานจาก Web Site ของหน่วยงาน หรือที่สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่นในระบบ MITAS

EB 21 : หน่วยงานมีการจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน โดยการกำหนดมาตรการ กลไก หรือการวางระบบในการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนในหน่วยงาน

รายละเอียด เนื้อหา
1. บันทึกข้อความลงนามคำสั่ง / ข้อสั่งการ / ประกาศ และปรากฏการขออนุญาตนำเผยแพร่บน Web Site ของหน่วยงาน หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
2. กรอบแนวทางการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนในหน่วยงาน ให้สอดคล้องตามบทวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนในหน่วยงานในข้อ EB20
3. หลักฐานหนังสือแจ้งเวียน
4. บันทึกข้อความรับทราบการกำกับติดตาม และรายงานผลการดำเนินงานตามกรอบแนวทางการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนในหน่วยงาน
5. แบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่าน Web Site ของหน่วยงาน และ Print Screen จาก Web Site ของหน่วยงาน
6. Link แสดงหลักฐานจาก Web Site ของหน่วยงาน หรือที่สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่นในระบบ MITAS

EB 22 : หน่วยงานมีการประชุม หรืออบรม/สัมมนา หรือแลกเปลี่ยนความรู้ภายในหน่วยงานในการให้ความรู้เรื่องการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน จิตพอเพียง ต้านทุจริต แก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานหรือไม่

รายละเอียด เนื้อหา
1. หลักฐานการจัดการประชุม หรือ อบรม / สัมมนา หรือ แลกเปลี่ยนความรู้ภายในหน่วยงาน เพื่อให้ความรู้เรื่องการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนแก่เจ้าหน้าที่ ( ตั้งแต่ต้นกระบวนการจนถึงสิ้นสุดกระบวนการ ) ปรากฏการขออนุญาตนำเผยแพร่บน Web Site ของหน่วยงาน
2. รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม หรือ อบรม / สัมมนา หรือ แลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งต้องเป็นเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงาน
3. ภาพถ่ายประกอบ
4. หนังสือเสนอผู้บริหารเพื่อทราบรายงานสรุปผลการจัดการประชุม หรือ อบรม / สัมมนา หรือ แลกเปลี่ยนความรู้ ปรากฏการขออนุญาตนำเผยแพร่บน Web Site ของหน่วยงาน
5. แบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่าน Web Site ของหน่วยงาน หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น และ Print Screen จาก Web Site ของหน่วยงาน หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
6. Link แสดงหลักฐานจาก Web Site ของหน่วยงาน หรือที่สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่นในระบบ MITAS

EB 23 : หน่วยงานมีการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปีของหน่วยงานและแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรมจริยธรรม ประจำปีงบประมาณของหน่วยงาน เอกสารหลักฐานประกอบการตรวจประเมิน

รายละเอียด เนื้อหา
1. แผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบประจำปีของหน่วยงานและแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรมจริยธรรมประจำปีงบประมาณของหน่วยงาน ซึ่งต้องแสดงรายละเอียดดังนี้
          1.1 แผนปฏิบัติการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปีของหน่วยงาน ดำเนินการตามคู่มือแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบปีงบประมาณ ต้องแสดงอย่างน้อย 5 องค์ประกอบ ดังนี้
                    1.1.1 โครงการ / กิจกรรม
                    1.1.2 งบประมาณที่ใช้ในโครงการ / กิจกรรม
                    1.1.3 วัตถุประสงค์ของโครงการ / กิจกรรม
                    1.1.4 ตัวชี้วัดความสำเร็จ
                    1.1.5 ระยะเวลาดำเนินการของโครงการ / กิจกรรม
          1.2 แผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรมจริยธรรมประจำปีงบประมาณของหน่วยงาน ดำเนินการตามคู่มือการขับเคลื่อนชมรมจริยธรรมของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ราชการบริหารส่วนภูมิภาคประจำปีงบประมาณ โดยมี
                    1.2.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนชมรมจริยธรรมของหน่วยงาน
                    1.2.2 แผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรมจริยธรรมของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขราชการบริหารส่วนภูมิภาคประจำปีงบประมาณ
                    1.2.3 รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการตามข้อ 1.2.2
                    1.2.4 แบบติดตามประเมินผลแผนปฏิบัติการตามข้อ 1.2.2
          1.3 แผนปฏิบัติการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปีงบประมาณของหน่วยงานต้องผ่านความเห็นชอบ และลงนามโดยผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน
          1.4 แผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรมจริยธรรมประจำปีงบประมาณของหน่วยงาน หรือผู้บริหารที่ได้รับมอบอำนาจ หรือประธานชมรมจริยธรรม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
2. หนังสือเสนอผู้บริหารเพื่อขอความเห็นชอบอนุมัติและลงนามในแผนฯ ปีงบประมาณ และปรากฏการขออนุญาตนำเผยแพร่บน Web Site ของหน่วยงาน
3. แบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่าน Web Site ของหน่วยงาน หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น และ Print Screen จาก Web Site ของหน่วยงาน หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
4. Link แสดงหลักฐานจาก Web Site ของหน่วยงาน หรือที่สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่นในระบบ MITAS

EB 24 : หน่วยงานมีการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปีของหน่วยงาน และแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรมจริยธรรมประจำปีงบประมาณของหน่วยงาน

รายละเอียด เนื้อหา
1. แผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปีของหน่วยงาน
          1.1 รายงานผลการกำกับติดตามการดำเนินการใน 2 ไตรมาส คือ ไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 4
          1.2 หนังสือเสนอผู้บริหารเพื่อทราบ / สั่งการ และปรากฏการขออนุญาตนำเผยแพร่บน Web Site ของหน่วยงาน
          1.3 แบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่าน Web Site ของหน่วยงาน หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น และ Print Screen จาก Web Site ของหน่วยงาน หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
          1.4 Link แสดงหลักฐานจาก Web Site ของหน่วยงาน หรือที่สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่นในระบบ MITAS
2. แผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรมจริยธรรมประจำปีงบประมาณของหน่วยงาน
          2.1 รายงานผลการกำกับติดตามการดำเนินการตามข้อกำหนดของคู่มือการขับเคลื่อนชมรมจริยธรรมของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ประจำปีงบประมาณ สำหรับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และโรงพยาบาลชุมชน ตามแบบฟอร์มการรายงานและการติดตามประเมินผลฯ ( แบบฟอร์มที่ 2 และ แบบฟอร์มที่ 3 ) และจัดส่งตามปฏิทินที่กำหนดทุกประการ
          2.2 หนังสือเสนอผู้บริหารเพื่อทราบ / สั่งการ และปรากฏการขออนุญาตนำเผยแพร่บน Web Site ของหน่วยงาน
          2.3 แบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่าน Web Site ของหน่วยงาน หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น และ Print Screen จาก Web Site ของหน่วยงาน หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
          2.4 Link แสดงหลักฐานจาก Web Site ของหน่วยงาน หรือที่สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่นในระบบ MITAS

EB 25 : หน่วยงานมีการกำหนดมาตรการ กลไก หรือการวางระบบในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามคู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน

รายละเอียด เนื้อหา
1. บันทึกข้อความลงนามคำสั่ง / ข้อสั่งการ / ประกาศ
2. กรอบแนวทางการตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามคู่มือ หรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
          2.1 วิธีการตรวจสอบ
          2.2 ขั้นตอนการตรวจสอบ
          2.3 กำหนดกลไกการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง
3. หลักฐานการประชุมชี้แจง สื่อสารทำความเข้าใจให้ทราบทั่วทั้งองค์กร
4. หลักฐานหนังสือแจ้งเวียน
5. บันทึกข้อความรับทราบผลการกำกับติดตาม และรายงานผลการดำเนินงานตามกรอบแนวทางการตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ตามคู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
6. แบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่าน Web Site ของหน่วยงาน หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น และ Print Screen จาก Web Site ของหน่วยงาน หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
7. Link แสดงหลักฐานจาก Web Site ของหน่วยงาน หรือที่สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่นในระบบ MITAS

EB 26 : หน่วยงานมีการเผยแพร่กระบวนการอำนวยความสะดวก หรือการให้บริการประชาชน ด้วยการแสดงขั้นตอน ระยะเวลาที่ใช้

รายละเอียด เนื้อหา
1. เนื้อหาที่แสดงถึงประเภทงานบริการซึ่งเป็นกระบวนการอำนวย ความสะดวก หรือการให้บริการประชาชน ประกอบด้วย
          1.1 ประเภทงานบริการ
          1.2 ขั้นตอน
          1.3 ระยะเวลาที่ใช้ ( เป็นอันเดียวกับ EB9 ข้อ 9 ได้ )
2. ภาพถ่ายประกอบ
3. แบบฟอร์มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่าน Web Site ของหน่วยงาน หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น และ Print Screen จาก Web Site ของหน่วยงาน หรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น
4. Link แสดงหลักฐานจาก Web Site ของหน่วยงาน หรือที่สื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่นในระบบ MITAS